มารยาทในการพูด


การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น
การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย

มารยาทในการพูด
     การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
     2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้
     1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
     2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
     3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
     4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน
ฯลฯ


มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
     การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้น ย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
     1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
     2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
     3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
     4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
     5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
     6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
     7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
     8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
     การสื่อสารด้วยการพูดไม่ว่าจะเป็นการพูดกับคนเพียงคนเดียวหรือพูดกับคนจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พูดทุกคนต้องมีมารยาท ถ้าขาดหรือละเลยต่อมารยาทในการพูด แล้วอาจทำให้การพูดประสบความล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จได้


ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
     การพูดจะสัมฤทธิผลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่ มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูด ฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้
การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล
     ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ
     ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์
     ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม
การพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
     เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน และอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
การพูดแสดงความคิดเห็น
     เป็นการใช้ทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิด เหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน ความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี

เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ

การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความ
เก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย

การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย

การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้

ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงาน..พ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย

การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป

ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในสังคม

มารยาทในสังคม

มารยาท คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัวแต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่าการกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว
มารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดีมารยาทดีเท่ากันแต่อาจไม่เหมือนกัน เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย มีตัวร่วม คือ แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ


มารยาทในการแต่งกาย 
การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ2 ดังนี้
1. ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
2. ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
3. ความถูกต้องกาลเทศะ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยมและสถานที่

ข้อควรปฏิบัติในการแต่งกาย 
1. ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่จะไป เช่น งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส งานอวมงคล ถ้าเป็นงาน..พก็ควรใส่สีดำ เป็นต้น
2. ให้เหมาะสมกับความสำคัญของงาน เช่น งานระหว่างเพื่อนฝูง งานรัฐพิธี ถ้าเป็นงาน..พ ก็ต้องดูว่าเป็นงาน..พทั่วไปหรืองาน..พพระราชพิธี
3. ให้เหมาะสมกับเวลา เช่น เป็นงานราตรีสโมสรหรืองานกลางคืนธรรมดา
4. ให้เหมาะสมกับฐานะและหน้าที่ เช่น เป็นครู เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้า เป็นคนรับใช้
5. ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เป็นคนมีอายุก็ไม่ควรแต่งเป็นวัยรุ่นเกินไปเป็นเด็กก็ไม่ควรแต่งให้เป็นผู้ใหญ่เกินไป
6. ให้เหมาะสมกับยุคและสมัยนิยม ไม่นำสมัยเกินไปหรือล้าสมัยเกินไป
7. พึงแต่งกายให้สมเกียรติกับงานที่ได้รับเชิญ


มารยาทในการยืน 
1. การยืนตามลำพัง
การยืนตามลำพังจะยืนแบบใดก็ได้แต่ควรจะอยู่ในลักษณะสุภาพ สบายโดยมีส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าพัก ปล่อยแขนแนบลำตัว ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา จะยืนเอียงได้บ้างแต่ควรอยู่ในท่าที่สง่า
2. การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนี่ง ทำได้ 2 วิธี คือ
2.1 ยืนตรง ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือสองข้างแนบลำตัวหรือประสานกันไว้เบื้องหน้าใต้เข็มขัดลงไป ท่าทางสำรวม
2.2 ยืนตรงค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสานไว้ข้างหน้า ท่าทางสำรวมการประสานมือ ทำได้ 2 วิธี คือ คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้หรือหงายมือทั้งสอง สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่จะใช้จนถึงการยืนเฉพาะหน้าที่ประทับ การค้อมตัวจะมากน้อยย่อมสุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้ามีอาวุโสหรือเป็นที่เคารพสูง ก็ค้อมตัวมาก

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการพูดที่ดีควรปฏิบัติ

มารยาทในการพูดที่ดีควรปฏิบัติ มีดังนี้

หลังๆ บอร์ดเราดร่าม่าเยอะมากเลยเอามาลงคับ ขออภัย หากบ้างท่าน ได้ไปอ่าน Comman ที่รุนแรงบางอันของข้าพเจ้า ที่รุนแรงบางอัน ทั้งบอร์ดนี้และ บอร์ด BigBus นะครับ กราบขออภัยมา ณ ทีนี้ แต่ส่วนตัวไม่เคยนำไปพูดจาว่าร้ายให้เกมนี้ในทางเสียๆหาย ยกเว้นบางรายเล่นไปเป็นคนๆ ครับ

(จะคุยจะด่า จะเถียงบ้าไรกันก็เชิญแต่ แค่บอร์ด HR กับ BigBustudio จบพอครับ) พอๆ เข้าเนื้อหา

มารยาทการพูดที่ดีควรปฏิบัติ มีดังนี้

- ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง เหมาะสมตามสถานภาพผู้ฟัง เช่น สวัสดี / เรียน

กราบเรียน / ขอประทานกราบเรียน

- ใช้คำพูดที่แสดงถึงความมีมารยาทอยู่เสมอ เช่น ขอโทษ ขอบใจ ขอบคุณ

- ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง ไม่ใช้เสียงดุดัน หยาบคาย

- ไม่พูดยกตนข่มท่าน คุยโอ้อวดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น

- ไม่ชิงพูด แย่งพูดก่อนคนอื่น หรือผูกขาดการพูดเพียงคนเดียว

- ไม่พูดยืดยาว นอกประเด็น พูดวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ

- ไม่พูดเสียงห้วนๆ สั้นๆ ตามอารมณ์

- ไม่พูดหยาบคาย ใช้คำต่ำไม่เหมาะสม

- ไม่โต้เถียง คัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล


มารยาทในการพูด

กิริยามารยาท เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของการอยู่รวมกันในสังคม
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ามารยาทไม่มีบทบาทสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสุขและความปิติยินดีให้เกิดขึ้นในของจิตใจมนุษย์
มี ใครบ้างไหม ? ที่ได้รับความทุกข์จากการมีความซื่อสัตย์และซื่อตรงและได้รับความสุขสงบจาก การหาความสุขที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของการโป้ปดมดเท็จและทรยศคดโกง ?

การ พูดเท็จ เป็นลักษณะนิสัยที่น่ารังเกียจอย่างหนึ่ง ลิ้นของมนุษย์นั้น แปลความรู้สึกภายในจิตใจของเขาออกมาเป็นภาษา เพราะฉะนั้นถ้าการพูด
เพราะฉะนั้นถ้าหากการพูดเท็จ มีสาเหตุมาจากความอิจฉาริษยา หรือความเป็นศัตรูกันแล้ว มันก็จะแสดงถึงอันตรายของความโกรธที่รุนแรง

การ พูดเท็จจะดับแสงสว่างและรัศมีในชีวิตของมนุษย์ และจะจุดไปแห่งการทรยศคดโกง ขึ้นในตัวเขาและจะทำให้ความผูกพัน ความรัก สามัคคีนั้นขาดสะบั้นลง
และ จะทำให้ความหน้าไหว้หลังหลอกนั้น แพร่สะบัดออกไป สำหรับคนที่มีความตั้งใจชั่วร้ายนั้น การพูดเท็จของเขาจะช่วยเปิดประตูให้เขาเข้าไปถึงจุดมุ่งหมายที่เห็นแก่ตัว
ด้วย การซุกซ่อนความจริงเอาไว้เบื้องหลัง ด้วยถ้อยคำที่เหมือนมนต์สถดของเขา ทำให้ผู้อื่นมีบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ต้องตกเป็นทาส เพราะความเท็จ

ผู้ที่ใช้ลิ้นพูดแต่ในเรื่องศาสนา เท่านั้น ที่จะหลีกเลี่ยงความชั่วนี้ได้ เพราะคนเหล่านี้
เขาจะไม่ปล่อยให้ลิ้นของเขากระดกไปโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและความศรัทธาของเขา
และต่อสถานที่อันนิรันดร์แห่งการพักผ่อนของเขา

ทุกคนมักจะพูดกันว่า "พูดง่ายแต่ทำยาก ถ้าเราลองคิดดูดีๆ เราจะเห็นได้ว่า การพูดนั้นไม่ได้ง่าย อย่างที่เราคิดเลย
แต่ มันเป็นเพราะความเคยชินของเขาที่จะพูดอะไรออกมาโดยที่ไม่ได้คิด พูดออกมาตามที่ใจตัวเองต้องการ แต่เราได้คำนึงถึงจิตใจของผู้ฟังหรือเปล่า
ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นในหัวใจของเขา คนเรามันก็น่าแปลกดี ที่ต้องการจะพูดให้ผู้อื่นฟัง แต่ไม่ได้คำนึงเลยว่า
ผู้ฟังต้องการหรือรัก ชอบ ที่จะฟังหรือเปล่า ขอแค่ใจมันอยากพูดอย่างนั้นหรือ ?

การที่เราจะพูดให้ถูกต้องได้นั้น เราต้องคิดแล้วคิดอีก เลือกแล้วเลือกอีก เพื่อที่จะให้ได้มา
ซึ่งคำที่สวยงามและเหมาะสมที่สุดและต้องถูกกาลเทศะ ท่านศาสดา(ศ) ได้กล่าวว่า
" แน่แท้ บรรดาที่เชื่อใครๆมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่พูดความจริงบ่อยที่สุดนั่นเองและผู้ที่สงสัยใครๆมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่โกหกบ่อยที่สุดเช่นกัน "

เรามาดูว่าเราจะสามารถรักษาโรคร้ายจากคำพูดนี้ได้อย่างไร 

๑. เงียบ เราจะเห็นว่ายิ่งพูดมาก โอกาสผิดก็ยิ่งมาก อย่างการเขียนก็เช่นกัน ยิ่งเขียนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะผิดก็มีมากเท่านั้น
แต่ ถ้าไม่เริ่มเขียน โอกาสทีจะผิดก็ไม่มี แต่ดั่งที่รู้กันแล้วว่า คำที่เราเขียนนั้น ถ้าผิด เราก็ลบมันได้ แต่คำพูดของเราที่ได้ทำลายจิตใจผู้อื่นนั้น
มันไม่สามารถที่จะลบความปวดร้าวที่อยู่ภายในจิตใจของเขาได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลือกพูดแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

การเงียบบ่งบอกถึงการใช้สติปัญญา ท่านอิมามอะลี(อ.)ได้กล่าวว่า : " เมื่อไหร่ที่สติปัญญาสมบูรณ์สูงส่งแล้ว คำพูดของเขาก็จะน้อยลง "

๒. คิดก่อนพูด คำพูดนั้น จะออกมาจากความคิดและผ่านการกลั่นกรองที่ออกมาจากหัวใจ

๓. เราต้องคิดอยู่เสมอว่า คำพูดที่จะพูดออกไปนั้น มีคนกำลังอัดมันไว้ เมื่อเราคิดเช่นนี้ เราก็จะพยายามเลือกสรรคำพูดที่สวยงามและไพเราะที่สุดมาใช้
ให้เหมือนกับ เวลาที่มีการสัมภาษณ์ออกทีวี และเราจงรู้ไว้ว่ารอบๆตัวเรานั้นมีเครื่องอัดเสียงอยู่ ซึ่งมันจะอัดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เพื่อการสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น เราต้องสังเกตดูตัวเรา
และรักษาความตั้งใจที่บริสุทธิ์เอาไว้ เราต้องรวบรวมเอาความคิดที่ดีงามทั้งหมดไว้ในหัวใจของเราให้เข็มแข็ง
เพื่อที่จะนำเอาดวงวิญญาณของเราออกจากความมืดมาสู่สว่าง

0 ความคิดเห็น:

ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์


ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์

   
     การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์

     ๑. ถ้านั่งเก้าอี้อยู่หากพระสงฆ์เดินมานิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
           เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม
      ๒. ถ้าคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) นั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับเมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า
          นิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์

นิยมจัดอาสนะสงฆ์หรือเก้าอี้ไว้ต่างหากจากฆราวาส หรืออุบาสก-อุบาสิกา
ถ้าสถานที่ชุมชนนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้เฉพาะพระสงฆ์ หากท่านมาต้องลุกหลีกไป ให้โอกาสแก่พระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
หากชายจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งด้านซ้ายของพระสงฆ์
สตรีเพศ (อุบาสิกา) ไม่นิยมนั่งแถวเดียวกันหรืออาสนะยาวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจำเป็น ต้องมีบุรุษคั่นอยู่

    การตามส่งพระสงฆ์

ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
ถ้านั่งกับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้านิยมกราบหรือยกมือไหว้ตามควรแก่กรณี
เจ้าภาพหรือประธานพิธี ต้องตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถพ้นออกไปจากบริเวณงานแล้ว ก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงไหว้
       เมื่อพระสงฆ์เดินตามหลังมา

    ๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์
     ๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน
     ๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
     ๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ

    วิธีเดินตามหลังพระสงฆ์

เดินตามไปเบื้องหลัง โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่านระยะห่างจากท่าน ๒-๓ ก้าว
กิริยาเดินตามหลัง ต้องสำรวมเรียบร้อย
นิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่นขณะเดินตามหลังท่าน
นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศัยกับผู้อื่น

0 ความคิดเห็น:

การปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์


การปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์
พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้อง ตามกาลเทศะต่างๆดังต่อไปนี้

๑ การปฏิบัติตนทางกาย คือ ด้านการเคลื่อนไหวอิริยาบถทั้งสี่
- การลุกขึ้นยืนต้อนรับ ยกมือไหว้ และนั่งลงเมื่อท่านนั่งแล้ว แต่ถ้าเรานั่งกับพื้นไม่ต้องยืน
- การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่งให้ฆราวาสลุกให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า ถ้าต้องนั่งแถวเดียวกันให้นั่งแถวเดียวกับพระให้นั่งทางซ้ายมือท่าน ถ้าเป็นสตรีนั่งอาสนะยาวเดียวกันกับพระต้องมีบุรุษนั่งคั่นกลาง ถ้านั่งกับพื้นให้ปูอาสนะให้ท่านอีกชั้นหนึ่ง
- การรับรอง รับรองด้วยอัธยาศัยไมตรี นิมนต์ให้นั่งในที่สมควร ถวายของรับรอง เช่น น้ำดื่ม นั่งสนทนากับท่านโดย มีหลักห้าม ๖ อย่างคือ ไม่นั่งตรงหน้า ไม่นั่งไกลนัก ไม่นั่งสูงกว่า ไม่นั่งข้างหลัง ไม่นั่งใกล้นัก ไม่นั่งเหนือลม
- การตามส่งพระสงฆ์ ลุกขึ้นยืน เมื่อท่านเดินผ่านให้ไหว้ แต่ถ้านั่งพื้นไม่ต้องยืน เจ้าภาพเดินตามส่งจนพ้นบริเวณงาน ก่อนท่านจากไปให้ไหว้อีกครั้ง
- การให้ทางแก่พระสงฆ์ มีหลักต่างๆกันตามแต่กรณี ดังนี้
ถ้าพระสงฆ์เดินมาข้างหลังหรือเดินสวนทางกับพระสงฆ์ ให้หลีกชิดทางซ้ายมือของท่าน หันหน้ามาทางท่าน ยกมือไหว้จนกว่าท่านจะผ่านไป ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือพูดกับท่าน
ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่ ให้หยุดแล้วไหว้ท่าน หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าพระสงฆ์นั่งอยู่ หยุดนั่งลงแล้วไหว้ หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าเดินตามพระสงฆ์ ให้เดินเยื้องไปทางซ้ายมือของท่าน ไว้ระยะห่างจากท่านประมาณ ๒-๓ก้าว เดินในอิริยาบทเรียบร้อย ไม่ทำความเคารพ ทักทายผู้อื่น
- การไปหาพระสงฆ์ ต้องแต่งกายเรียบร้อย ไม่นั่งอาสนะเสมอกับท่าน นั่งคุกเข่ากราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบสุภาพ เรียบร้อย ประนมมือพูดกับท่าน ไม่นำเรื่องส่วนตัวไปเล่า ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดคำหยาบคาย พระสงฆ์อยู่ชั้นล่างไม่ควรขึ้นไปชั้นบน สตรีระวังเครื่องนุ่งห่มและไม่ควรสนทนากับพระสองต่อสอง เมื่อเสร็จธุระให้รีบลากลับและกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
- ไม่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอื่นๆ ต่อหน้าพระสงฆ์หรือพุทธสถาน เช่น ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน เป็นต้น ช่วยบำรุงรักษาศาสนสมบัติทั้งหลาย

๒ การปฏิบัติตนทางวาจา ต้องพูดจาด้วยความเคารพ ถูกต้อง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังนี้
- ถ้าเป็นพระสังฆราชใช้คำพูดกับพระองค์ท่านดังนี้ แทนพระองค์ว่า ฝ่าบาท แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระหม่อม (ญ)ว่า กระหม่อมฉัน รับพระดำรัส(ช)ว่า กระหม่อม (ญ)ว่า เพคะ
- ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสมเด็จ พระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่ ใช้คำพูดกับท่านดังนี้ แทนท่านว่า พระเดชพระคุณ แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระผม (ญ)ว่า ดิฉัน รับคำพูด(ช)ว่า ครับผม (ญ) ว่า เจ้าค่ะ
- ถ้าเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญแทนท่านว่า ท่านเจ้าคุณ พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานาแทนท่านว่า ท่านพระครู พระมหาเปรียญแทนท่านว่า ท่านมหา พระธรรมดาทั่วไปแทนท่านว่า พระคุณเจ้า พระผู้เฒ่าใช้คำแทนท่านว่า หลวงตาหรือหลวงปู่ ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูดใช้แทนท่านตามที่เป็นญาติ เช่น หลวงลุง หลวงน้า แทนตัวผู้พูด(ช)ว่ากระผม (ญ)ว่าดิฉัน คำรับ(ช)ว่าครับ (ญ)ว่าค่ะ

๓ การปฏิบัติตนทางใจ ควรเคารพพระสงฆ์ ไม่คิดในแง่ร้ายเพราะพระสงฆ์เป็นผู้มีความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง ปฏิบัติชอบยิ่ง ธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนาน ควรเคารพทางใจโดย
- คิดถึงท่านด้วยเมตตาจิต คือปรารถนาดีต่อท่าน
- คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือให้ความช่วยเหลือท่าน
ปฏิบัติได้เช่นนี้ย่อมเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีความเคารพต่อพระสงฆ์ทั้งกาย วาจา ใจ


0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี
      เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
      การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความเก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย
การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้
ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงานศพ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป

ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน


0 ความคิดเห็น:

มารยาททางสังคม : สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ

 มารยาททางสังคม : สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ

ก่อนที่จะกล่าวถึง “มารยาททางสังคม” ผู้เขียนขอให้มาทำความรู้จักกับคำว่า  “มารยาท” ก่อนว่า คืออะไร “มารยาท” หรือ “มรรยาท” (etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือก็คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัว แต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่า การกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว (บ้านมหาดอทคอม, 2552) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น จึงกล่าวได้ว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคลที่แสดงออกทั้งในด้านกิริยา วาจา ซึ่งมีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ ที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม มีความสำรวม ถูกกาลเทศะ และปฏิบัติสิ่งที่พอเหมาะพองาม

        มารยาทจึงเป็นสิ่งที่เราเคยชินกับการได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ทั้งจากในบ้านที่คุณปู คุณย่า คุณตา คุณยาย บิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักพร่ำสอน ตลอดจนคุณครูและอาจารย์ในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ปลูกฝังเรา เพื่อให้เรามีมารยาททางสังคม รู้จักอะไรควรและไม่ควรกระทำ สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ มารยาททางสังคมจึงเป็นกรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553)

        ปัจจุบันด้วยพิษของโลกาภิวัฒน์และโลกของการแข่งขันและการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่แย่งเวลาในการที่จะปลูกฝังสิ่งดีงามเหล่านี้ไป เกิดการหลงลืมคำว่า “มารยาท” และได้เกิดการทำสิ่งต่างๆ ที่ยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงคนในสังคมรอบข้างว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตนเองกระทำ กล่าวง่ายๆ ว่า “ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา เรื่องของเรา คือ เราต้องสบาย ต้องได้ ไม่ต้องเสีย หรือต้องสำเร็จ” จึงทำให้สังคมเกิดความสับสนว่า “สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ” “สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม” “สิ่งใดถูกกาลเทศะหรือไม่ถูกกาลเทศะ” บางคนก็กล่าวไปจนถึงการมีสมบัติผู้ดี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคม ความอคติต่อกันทำลายบรรยากาศดีๆ ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำให้สังคมรอบข้างไม่น่าอยู่ แต่ถ้าทุกคนหันมาปรับปรุงบรรยากาศที่ดีในสังคมตั้งแต่หน่วยเล็กจนถึงหน่วยใหญ่ที่สุด จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่มากขึ้น จะพบกับความถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำใจที่เอื้ออาทรกันและกัน การช่วยกัน/ ร่วมมือกันทำงาน และเกิดความสุขในการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและการทำงาน

        ดังนั้น มาช่วยกันทำสิ่งที่หายไปนั้นกลับคืนมาสู่สังคมไทยกันเถอะ นั่นคือ “มารยาททางสังคม” ที่ดูเหมือนสิ่งที่ดูเล็กน้อย แต่มีความสำคัญที่ทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมเราน่าอยู่ เพราะบุคคลเรานอกจากจะมีความสามารถในเชิงการทำงานที่ดีเยี่ยมแล้ว ยังต้องรู้จักรักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับผู้อื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ เพิ่มความสนใจให้กับผู้พบเห็น จึงนับได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินชีวิตประจำวันและในการทำงาน เพราะคนมีมายาทนั้นไม่ได้วัดกันที่คุณจบวุฒิอะไรมา หรือมีดีกรีระดับใด หรือมีตำแหน่งหน้าที่อะไร หรือมาจากวงค์ตระกูลไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่วัดกันที่บุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงออกมา โดยท่วงทีกริยามารยาทที่แสดงออกมาแล้วบุคคลอื่นรอบข้างเขารับได้หรือไม่ได้ บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง (อัจฉรา นวจินดา) แต่ถ้าบุคคลนั้นมีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นผู้บังคับบัญชา หรือมีความเก่งในหน้าที่การงาน แต่ไร้มารยาททางสังคม บุคคลนั้นก็ไม่น่าชื่นชมหรือน่านับถือ เพราะบุคคลนั้น ยังไม่รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ ยังนึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตน หรือยึดตนเองหรือที่เรียกว่า “อัตตา” เป็นหลัก ยังไม่รู้จักให้เกียรติคนอื่น ลืมมองดูคนอื่นที่อยู่รอบข้างว่า ทุกคนมีความสำคัญในสังคมไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะใดในสังคมก็ตาม เขาก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน จึงควรให้เกียรติไม่ว่าเขาจะมีฐานะด้อยกว่าตนก็ตาม  หลายครั้งที่บุคคลเราเมื่อมีฐานะ มีหน้ามีตาในสังคม หรือมีอำนาจขึ้นมา มักจะลืมนึกถึงคนอื่นที่เขามีความเป็นมนุษย์เช่นตนเอง ที่มีความรู้สึกและมีความต้องการเช่นกัน แต่กลับแสดงอำนาจหรือมีกริยาที่แสดงท่าทีข่มคนอื่น เพื่อให้เขาดูด้อยกว่าตนเอง ซึ่งดูเหมือนจะดีที่สร้างสถานการณ์ที่เหนือกว่าบุคคลอื่น แต่สิ่งที่ทำไปนั้น กลับติดลบ เพราะสิ่งที่ทำไปไม่ได้ใจคนที่เห็นหรือคนที่ถูกกระทำ และบางครั้งกลับกลายเป็นการเอาคืน จึงทำให้บรรยากาศดีๆ ที่จะทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขหายไป และถ้าเป็นหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกันด้วยแล้ว ความร่วมมือในการทำงานจะหายไป ผลงานที่ได้อาจไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งดูเหมือนประสบความสำเร็จดี แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้วจริงๆ อาจไม่ได้ประสบความสำเร็จจริงๆ ก็ได้ เพราะคนอาจทำให้ด้วยหน้าที่ตามความจำเป็น หรือทำให้เพราะกลัวอำนาจของผู้มีอำนาจหน้าที่เหนือกว่า แต่ไม่ได้ใส่ใจกับงานที่ต้องทำ สิ่งที่ออกมาจึงไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น เป็นการทำให้ผ่านๆ หรือพ้นๆ ตัวไปเท่านั้น และเมื่อวงจรนี้ยังคงอยู่ ไม่มีการปรับปรุง ผลกระทบที่สะสมนั้นสุกง่อม ก็จะแสดงออกมา และวันนั้นการแก้ไขก็จะยากขึ้น ส่งผลร้ายต่อตนเอง คนรอบข้าง หน่วยงาน และสังคมที่อยู่ แต่ก็ไม่มีอะไรที่สายเกินไปที่เราจะหันกลับมาและเอาใจใส่กับคนรอบข้างอย่างจริงใจ ด้วยมารยาททางสังคมที่ดีงามให้แก่กันและกัน จะทำให้สิ่งที่ดีๆ กลับมาสู่สังคมเรามากยิ่งขึ้น เกิดความรักและความสามัคคีกันในสังคม

        การที่จะทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมน่าอยู่นั้น สิ่งที่ต้องปลูกฝังและฝึกฝนมาตั้งแต่เล็กจนโต ก็คือ การเป็นผู้มีมารยาท หรือบางคนโตแล้ว แต่ในวัยเด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังมา ก็สามารถปรับหรือพัฒนาตนเองได้ ถ้าใจคิดที่จะทำให้ดีขึ้น เพราะมารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา  อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้  ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดี มารยาทดีเท่ากัน แต่อาจไม่เหมือนกัน  เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย   มีตัวร่วม  คือ  แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว  เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ   เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น  ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย  สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน  สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ (อมร สังข์นาค) ดังนั้น มารยาทที่พบเห็นกันบ่อยๆ และควรรักษาไว้ในสังคมและปลูกฝังให้ลูกหลานคนไทยต่อไป เช่น

1. มารยาทในการพูด

        มารยาทในการพูดที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
1.1 คำกล่าว “ ขอบคุณ ” จะใช้เมื่อมีผู้อื่นให้สิ่งของ  ให้ความช่วยเหลือ ให้บริการ หรือเอื้อเฟื้อทำสิ่งต่างๆ ให้ ไม่ว่าจะโดยหน้าที่ของเขา หรือมีน้ำใจหรือไม่ก็ตาม เช่น บริกรเสริฟน้ำให้ คนลุกให้นั่งหรือช่วยถือของให้บนรถประจำทาง คนช่วยหยิบของให้เวลาของหล่นลงพื้น พนักงานรักษาความปลอดภัยช่วยบอกทางในขณะจอดรถ หรือคนช่วยเปิดประตูให้ เป็นต้น  การกล่าวคำขอบคุณนั้น ถ้ากล่าวกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือมีวัยเสมอกันจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” หรือถ้ากล่าวกับคนอายุน้อยกว่าจะใช้คำว่า  “ ขอบใจ ” ส่วนระดับของการขอบคุณนั้นจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” “ขอบคุณมาก” “ขอบพระคุณมาก” “ขอบใจ” “ขอบใจมาก” ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดต่อสิ่งที่ทำให้หรือได้รับ โดยเฉพาะคำว่า “ขอบพระคุณมาก” จะใช้กับผู้อาวุโส มิใช่แค่คำพูดเท่านั้น น้ำเสียงที่พูด กิริยา ท่าทางที่พูดจะบอกว่า ผู้นั้นพูดออกมาจากความรู้สึกที่อยู่ในใจจริงๆ หรือพูดออกมาตามหน้าที่ หรือตามสถานการณ์ที่บังคับที่ทำให้ต้องพูด ผู้ฟังจะรู้สึกได้ถึงสิ่งที่พูด และยิ่งยกมือไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอบคุณกับผู้อาวุโสไปพร้อมกัน จะทำให้ดูอ่อนน้อม และได้รับความเมตตาจากผู้อาวุโสมากยิ่งขึ้น และการพูดขอบคุณแบบขอไปทีกับไม่พูดนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การพูดก็ดีกว่าการไม่พูด เพราะแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ดีกว่าการไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

1.2 คำกล่าว “ ขอโทษ ” จะใช้เมื่อทำสิ่งที่ไม่ดี /สิ่งที่ผิด / สิ่งผิดพลาด/ สิ่งที่ไม่เหมาะสม/ การรบกวน/ การขัดจังหวะขณะพูดหรือทำงานเมื่อมีธุระด่วน/ การพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม  เป็นต้น การกล่าวคำขอโทษนั้น จะใช้คำว่า “ขอโทษ” เมื่อผู้พูดรู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำ/ พูด/ แสดงออกมา ถ้าพูดออกมาด้วยความรู้สึกผิด จะทำให้คำขอโทษนั้นมีความหมายที่ผู้ฟังหรือคนกระทำรู้สึกดีขึ้นและพร้อมที่จะให้อภัย และถ้าเขาให้อภัยแล้ว ผู้ที่ทำผิดต้องกล่าวคำขอบคุณที่เขาให้อภัยเราด้วย แต่ถ้ากล่าวคำขอโทษออกมาแบบเสียไม่ได้ หรือในท่าทีที่ไม่เหมาะสม คำขอโทษนั้นจะมีน้ำหนักน้อยที่อาจทำให้เขาอาจไม่ให้อภัยหรือให้อภัยตามมารยาทสังคมเท่านั้น แต่ในใจยังรู้สึกติดใจอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในอนาคตได้ที่อาจมีการเอาคืนในภายหลัง แต่การกล่าวคำว่าขอโทษแบบเสียไม่ได้ก็ยังดีกว่าการไม่ยอมกล่าวคำขอโทษออกมา เพราะย่อมแสดงถึงว่าเราลดตัวตนหรือทิฐิของเราลงมาในระดับหนึ่ง  และยอมที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ถึงแม้ความรู้สึกสำนึกผิดจะช้าก็ตาม ในการกล่าวคำขอโทษนั้น ถ้ากล่าวกับผู้อาวุโสควรยกมือไหว้พร้อมกันไปด้วย จะทำให้ผู้อาวุโสที่เราขอโทษเขารู้สึกดี และบอกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้นั้นด้วย จะทำให้ดูดีและน่ารักในสายตาผู้อาวุโสและสายตาของผู้ที่ได้พบเห็นหรืออยู่ในสถานการณ์นั้น

1.3 คำพูดที่ใช้เมื่อสนทนาหรือกล่าวถึงผู้อื่นในลักษณะให้เกียรติ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ดังคำโบราณว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว” ก็แสดงว่า การพูดนั้นเป็นคุณแก่ผู้พูด คำพูดที่จะให้คุณ ก็คือ คำพูดดีๆ ที่พูดต่อกัน น้ำเสียงในการพูดให้น่าฟัง อ่อนโยน ใช้ภาษาที่เหมาะสม ถูกกาลเทศะ แสดงความให้เกียรติ รักษาน้ำใจผู้อื่น และไม่ควรพูดประชดประชันหรือซุบซิบนินทาผู้อื่นให้เสียหาย คำพูดดีๆ นั้นจะหมายรวมถึงการที่ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น หรือยกตนข่มผู้อื่น หรือแสดงตนว่าอยู่เหนือคนอื่น หรือพูดไม่ถูกกาลเทศะ การพูดเหล่านี้นอกจะไม่ให้คุณแล้ว ยังแสดงถึงความไม่มีมารยาทในการพูด จะทำให้เกิดผลกระทบตามมากับผู้พูด ทำให้ผู้พูดขาดทุน เพราะขาดความน่ารัก ไม่ได้ใจผู้ฟัง และยังก่อให้เกิดความขัดแย้งกันตามมาด้วย การพูดที่ให้เกียรติผู้อื่นนั้น ไม่ใช่ให้เกียรติเฉพาะผู้อาวุโส/ ผู้ใหญ่เท่านั้น ต้องรวมไปถึงผู้ที่มีศักดิ์และสถานะเท่าเทียมกัน จนถึงผู้ที่มีศักดิ์หรือสถานภาพด้อยกว่าผู้พูดด้วย โดยเฉพาะถ้าผู้พูดเป็นผู้อาวุโสกว่าหรือเป็นผู้บังคับบัญชา ยิ่งต้องพูดดีและให้เกียรติกับผู้ที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าเขาอยู่ในสถานภาพไหนก็ตาม จะทำให้ได้ใจผู้ฟัง และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทำงาน

1.4 การทักทาย ในประเพณีไทยจะทักทายกันโดยการไหว้และกล่าวคำว่า “สวัสดี” ส่วนสากลเวลาพบกันจะทักทายกันโดยยื่นมือขวาจับกันและเขย่ามือเล็กน้อย และทักทายด้วยคำสวัสดีเป็นภาษาต่างประเทศและถามสารทุกข์สุกดิบระหว่างกัน

1.5 การแนะนำบุคคลให้รู้จักกัน หลักโดยทั่วๆไปแล้ว  จะแนะนำผู้อาวุโสมากก่อนผู้มีผู้อาวุโสน้อยกว่า หรือแนะนำผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตำแหน่งระดับสูงกว่าก่อนผู้อื่น  ถ้ามีสถานภาพเสมอกันก็ให้แนะนำตามความเหมาะสม อาจแนะนำผู้ที่มาก่อนก็ได้

2. มารยาทในการรับประทานอาหาร

        การรับประทานอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงการมีมารยาททางสังคมของบุคคลว่า บุคคลนั้นได้รับการอบรมมาดีหรือไม่ มารยาทในการรับประทานอาหาร ได้แก่  มารยาทในการตักอาหาร โดยเมื่อเริ่มรับประทานอาหารต้องรอให้ผู้ใหญ่ แขกผู้ใหญ่ หรือเจ้าภาพตักอาหารก่อน ควรใช้ช้อนกลางในการตักอาหารจากจานกับข้าวกลางเพื่อแบ่งอาหารใส่จานของตน ควรตักอาหารให้พอกับการรับประทาน ไม่ควรตักอาหารมาใส่จานของตนมากจนรับประทานไม่หมด ไม่ควรตักอาหารข้ามหน้าผู้อื่น การรับประทานอาหารควรจับช้อนและซ้อม และ/ หรือตะเกียบให้ถูกหลักการใช้    ไม่พูดในขณะเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก เพราะอาจทำให้อาหารล่วงหล่นจากปากและสำลักอาหารได้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารหรือซดน้ำแกงเสียงดัง  ไม่ควรไอ จาม สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะ แกะเกาในขณะรับประทานอาหาร หากจำเป็นต้องใช้มือป้องปาก หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือเช็ดน้ำมูก หากมีอาหารที่ต้องคายออกให้ป้องปากและคายใส่กระดาษเช็ดปากที่รองรับอยู่ แล้วปิดให้มิดชิด ถ้าจะใช้ไม้จิ้มฟัน ควรใช้มือป้องปากไว้ขณะแคะ เป็นต้น

3. มารยาทในการเดิน ยืน และนั่ง

        การเดิน ควรเดินด้วยอาการสำรวม และเมื่อเดินกับผู้ใหญ่ไม่ควรเดินนำหน้า ควรเดินตาม ยกเว้น ต้องนำทางผู้ใหญ่ และควรเดินเยื้องอยู่ด้านข้างใดข้างหนึ่งแล้วแต่สถานที่ ซึ่งปกติจะอยู่ด้านซ้ายมือของผู้ใหญ่ และห่างพอสมควร  เมื่อเดินสวนทางกันควรเดินชิดซ้าย และถ้าสวนทางกับผู้ใหญ่ควรก้มตัวเมื่อเดินผ่าน ถ้าเป็นทางแคบควรหยุดให้ผู้ใหญ่ไปก่อน ถ้าผู้ใหญ่นั่งอยู่ ควรหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เป็นต้น ส่วนการยืนนั้น ไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่ และถ้ายืนอยู่กับผู้ใหญ่ต้องอยู่ในอาการสำรวม ไม่ยืนถ่างขา ไม่ยืนกอดอกหรือเอามือล้วงกระเป๋า เป็นต้น ส่วนการนั่ง ควรนั่งในท่าที่สบาย แต่อยู่ในอาการสำรวม ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งถ่างขา นั่งโยกเก้าอี้ หรือนั่งประเจิดประเจ้อที่ทำให้ดูโป้ หรือไม่อยู่ในอาการสำรวม  ไม่ควรเยียดขาหรือกระดิกเท้าขณะนั่งเวลานั่งกับผู้อื่นหรือในที่ระโหฐาน และไม่นั่งค้ำศีรษะผู้ใหญ่ เป็นต้น

4. มารยาทในการไปชมมหรสพ การไปซื้อของ หรืออยู่ในที่สาธารณะ

        การไปชมมหรสพ เช่น คอนเสิร์ต หนังหรือละคร ฯลฯ หรือการไปซื้อของ ควรเข้าแถวซื้อตั๋ว/ ซื้อของตามลาดับก่อน-หลัง ไม่แทรกหรือตัดแถวผู้อื่น ในขณะชมมหรสพไม่ควรลุกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็น ไม่ควรส่งเสียงรบกวนผู้อื่นโดยการสนทนากันดังๆ วิพากษ์วิจารณ์การแสดง หรือแสดงอาการสนุกสนาน เป่าปาก ตบมือจนเกินกว่าเหตุ ไม่ควรเกี้ยวพาราสี หรือกอดจับต้องกันเมื่ออยู่ในโรงมหรสพ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

5. มารยาทในการแต่งกาย

        การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ (http://web.eng.nu.ac.th ) ดังนี้

5.1 ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย  ได้แก่  เสื้อผ้า ถุงเท้า  รองเท้า  เครื่องประดับ  กระเป๋าถือ  ต้องสะอาดหมด  ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย     ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่   ผม  ปาก  ฟัน  หน้าตา  มือ  แขน  ลำตัว  ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ   ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว  ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
5.2 ความสุภาพเรียบร้อย  โดยเครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย  ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป   ไม่ใช้สีฉูดฉาด   ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น   ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้  เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
5.3 ความถูกต้องกาลเทศะ  โดยการแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ  เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง  การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยม สถานที่ และงานที่จะไป เช่น งานศพก็ควรใส่สีดำ งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส หรือไปงานที่เป็นทางการควรดูว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น ไปประชุม หรือไปศึกษาดูงาน ควรแต่งกายให้สุภาพตามประเพณีนิยม ฯลฯ เพื่อให้สมเกียรติกับงานที่ไป
 
6. มารยาทในการรักษาเวลา

        การนัดหมายกับผู้อื่นในการทำงาน การประชุม การไปเที่ยว จะต้องตรงเวลาและรักษาเวลาให้ดี ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถทำได้ต้องรีบแจ้งหรือบอกผู้ที่เรานัดหมายก่อนล่วงหน้าหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าไม่แจ้งและคนที่นัดรอเก้อ จะถือว่าเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา และไม่มีมารยาททางสังคม การรักษาเวลาถือเป็นการให้เกียรติต่อกันที่มีความสำคัญมากพอๆ กับการรักษาคำพูด

7. มารยาทในที่ประชุม 
               
        มารยาทในที่ประชุมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการให้เกียรติกัน และเคารพในการแสดงความคิดเห็นของกันและกัน มารยาทที่ต้องรักษาไว้ เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าประชุม การขออนุญาตที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมสายหรือการออกจากห้องประชุมก่อนกำหนด การยกมือขวาขึ้นเพื่อขอแสดงความคิดเห็นหรือต้องการถาม การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอดทนฟังเรื่องราวที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็นให้จบก่อนว่าเขาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือบอกอะไร ไม่พูดแทรกหรือตัดบทไม่ให้พูดขณะที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็น  การไม่พูดกวนหรือต่อเรื่องให้ยาวออกนอกประเด็นจากเรื่องที่ประชุม การเคารพกฎ กติกาของที่ประชุม การเคารพมติของที่ประชุม การไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์หรือนินทาผู้อื่นในขณะประชุม การพูดในที่ประชุมควรใช้เหตุผล หลักการ และความจริง ไม่ใช้อารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่จะเอาชนะ มีอัตตาสูง หรือต้องการพูดปกป้องตนเองก่อนที่จะฟังเรื่องราวให้จบ จะทำให้ที่ประชุมปั่นป่วน ไร้ระเบียบ และทำให้การประชุมนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

        มารยาททางสังคมยังมีอีกหลายด้านที่เราควรยึดในการปฏิบัติ  เช่น การรู้จักเกรงใจในเรื่องการขอความช่วยเหลือ การขอยืมของ การสั่งงาน การไปพบ/การไปเยี่ยม/การใช้โทรศัพท์ติดต่อในเวลาส่วนตัวหรือที่บ้าน เป็นต้น การไม่ถือวิสาสะในเรื่อง การเข้าห้องผู้อื่นโดยไม่เคาะประตู การหยิบหรือใช้หรือเข้าไปสำรวจบ้านหรือห้องของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดจดหมายหรืออิเมลของคนอื่นออกอ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น การให้เกียรติผู้อื่น ด้วยวาจาและท่าทาง การใช้โทรศัพท์ การนอน การช่วยเหลือผู้อื่น การเล่นกีฬาหรือเกมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มเติมได้ ดังนั้น การที่มนุษย์เราอยู่ในสังคมเดียวกันจะต้องเคารพกฎ กติกา ขนบธรรมเนียมประเพณี และบรรทัดฐานของสังคมที่เราอยู่ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มารยาททางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้คนเรารู้สึกดีต่อกัน สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะการมีมารยาทดีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง ผู้ที่มีมารยาทดี มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ  (อัจฉรา นวจินดา) จึงควรส่งเสริมให้สังคมเรารักษามารยาททางสังคมกันเถอะ

................................................

0 ความคิดเห็น: