มารยาทในการพูด


การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น
การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย

มารยาทในการพูด
     การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
     2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้
     1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
     2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
     3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
     4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน
ฯลฯ


มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
     การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้น ย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
     1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
     2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
     3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
     4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
     5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
     6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
     7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
     8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
     การสื่อสารด้วยการพูดไม่ว่าจะเป็นการพูดกับคนเพียงคนเดียวหรือพูดกับคนจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พูดทุกคนต้องมีมารยาท ถ้าขาดหรือละเลยต่อมารยาทในการพูด แล้วอาจทำให้การพูดประสบความล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จได้


ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
     การพูดจะสัมฤทธิผลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่ มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูด ฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้
การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล
     ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ
     ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์
     ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม
การพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
     เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน และอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
การพูดแสดงความคิดเห็น
     เป็นการใช้ทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิด เหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน ความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี

เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ

การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความ
เก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย

การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย

การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้

ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงาน..พ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย

การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป

ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในสังคม

มารยาทในสังคม

มารยาท คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัวแต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่าการกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว
มารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดีมารยาทดีเท่ากันแต่อาจไม่เหมือนกัน เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย มีตัวร่วม คือ แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ


มารยาทในการแต่งกาย 
การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ2 ดังนี้
1. ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
2. ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
3. ความถูกต้องกาลเทศะ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยมและสถานที่

ข้อควรปฏิบัติในการแต่งกาย 
1. ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่จะไป เช่น งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส งานอวมงคล ถ้าเป็นงาน..พก็ควรใส่สีดำ เป็นต้น
2. ให้เหมาะสมกับความสำคัญของงาน เช่น งานระหว่างเพื่อนฝูง งานรัฐพิธี ถ้าเป็นงาน..พ ก็ต้องดูว่าเป็นงาน..พทั่วไปหรืองาน..พพระราชพิธี
3. ให้เหมาะสมกับเวลา เช่น เป็นงานราตรีสโมสรหรืองานกลางคืนธรรมดา
4. ให้เหมาะสมกับฐานะและหน้าที่ เช่น เป็นครู เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้า เป็นคนรับใช้
5. ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เป็นคนมีอายุก็ไม่ควรแต่งเป็นวัยรุ่นเกินไปเป็นเด็กก็ไม่ควรแต่งให้เป็นผู้ใหญ่เกินไป
6. ให้เหมาะสมกับยุคและสมัยนิยม ไม่นำสมัยเกินไปหรือล้าสมัยเกินไป
7. พึงแต่งกายให้สมเกียรติกับงานที่ได้รับเชิญ


มารยาทในการยืน 
1. การยืนตามลำพัง
การยืนตามลำพังจะยืนแบบใดก็ได้แต่ควรจะอยู่ในลักษณะสุภาพ สบายโดยมีส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าพัก ปล่อยแขนแนบลำตัว ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา จะยืนเอียงได้บ้างแต่ควรอยู่ในท่าที่สง่า
2. การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนี่ง ทำได้ 2 วิธี คือ
2.1 ยืนตรง ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือสองข้างแนบลำตัวหรือประสานกันไว้เบื้องหน้าใต้เข็มขัดลงไป ท่าทางสำรวม
2.2 ยืนตรงค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสานไว้ข้างหน้า ท่าทางสำรวมการประสานมือ ทำได้ 2 วิธี คือ คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้หรือหงายมือทั้งสอง สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่จะใช้จนถึงการยืนเฉพาะหน้าที่ประทับ การค้อมตัวจะมากน้อยย่อมสุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้ามีอาวุโสหรือเป็นที่เคารพสูง ก็ค้อมตัวมาก

0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการพูดที่ดีควรปฏิบัติ

มารยาทในการพูดที่ดีควรปฏิบัติ มีดังนี้

หลังๆ บอร์ดเราดร่าม่าเยอะมากเลยเอามาลงคับ ขออภัย หากบ้างท่าน ได้ไปอ่าน Comman ที่รุนแรงบางอันของข้าพเจ้า ที่รุนแรงบางอัน ทั้งบอร์ดนี้และ บอร์ด BigBus นะครับ กราบขออภัยมา ณ ทีนี้ แต่ส่วนตัวไม่เคยนำไปพูดจาว่าร้ายให้เกมนี้ในทางเสียๆหาย ยกเว้นบางรายเล่นไปเป็นคนๆ ครับ

(จะคุยจะด่า จะเถียงบ้าไรกันก็เชิญแต่ แค่บอร์ด HR กับ BigBustudio จบพอครับ) พอๆ เข้าเนื้อหา

มารยาทการพูดที่ดีควรปฏิบัติ มีดังนี้

- ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง เหมาะสมตามสถานภาพผู้ฟัง เช่น สวัสดี / เรียน

กราบเรียน / ขอประทานกราบเรียน

- ใช้คำพูดที่แสดงถึงความมีมารยาทอยู่เสมอ เช่น ขอโทษ ขอบใจ ขอบคุณ

- ใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง ไม่ใช้เสียงดุดัน หยาบคาย

- ไม่พูดยกตนข่มท่าน คุยโอ้อวดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น

- ไม่ชิงพูด แย่งพูดก่อนคนอื่น หรือผูกขาดการพูดเพียงคนเดียว

- ไม่พูดยืดยาว นอกประเด็น พูดวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ

- ไม่พูดเสียงห้วนๆ สั้นๆ ตามอารมณ์

- ไม่พูดหยาบคาย ใช้คำต่ำไม่เหมาะสม

- ไม่โต้เถียง คัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล


มารยาทในการพูด

กิริยามารยาท เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของการอยู่รวมกันในสังคม
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ามารยาทไม่มีบทบาทสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสุขและความปิติยินดีให้เกิดขึ้นในของจิตใจมนุษย์
มี ใครบ้างไหม ? ที่ได้รับความทุกข์จากการมีความซื่อสัตย์และซื่อตรงและได้รับความสุขสงบจาก การหาความสุขที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของการโป้ปดมดเท็จและทรยศคดโกง ?

การ พูดเท็จ เป็นลักษณะนิสัยที่น่ารังเกียจอย่างหนึ่ง ลิ้นของมนุษย์นั้น แปลความรู้สึกภายในจิตใจของเขาออกมาเป็นภาษา เพราะฉะนั้นถ้าการพูด
เพราะฉะนั้นถ้าหากการพูดเท็จ มีสาเหตุมาจากความอิจฉาริษยา หรือความเป็นศัตรูกันแล้ว มันก็จะแสดงถึงอันตรายของความโกรธที่รุนแรง

การ พูดเท็จจะดับแสงสว่างและรัศมีในชีวิตของมนุษย์ และจะจุดไปแห่งการทรยศคดโกง ขึ้นในตัวเขาและจะทำให้ความผูกพัน ความรัก สามัคคีนั้นขาดสะบั้นลง
และ จะทำให้ความหน้าไหว้หลังหลอกนั้น แพร่สะบัดออกไป สำหรับคนที่มีความตั้งใจชั่วร้ายนั้น การพูดเท็จของเขาจะช่วยเปิดประตูให้เขาเข้าไปถึงจุดมุ่งหมายที่เห็นแก่ตัว
ด้วย การซุกซ่อนความจริงเอาไว้เบื้องหลัง ด้วยถ้อยคำที่เหมือนมนต์สถดของเขา ทำให้ผู้อื่นมีบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ต้องตกเป็นทาส เพราะความเท็จ

ผู้ที่ใช้ลิ้นพูดแต่ในเรื่องศาสนา เท่านั้น ที่จะหลีกเลี่ยงความชั่วนี้ได้ เพราะคนเหล่านี้
เขาจะไม่ปล่อยให้ลิ้นของเขากระดกไปโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและความศรัทธาของเขา
และต่อสถานที่อันนิรันดร์แห่งการพักผ่อนของเขา

ทุกคนมักจะพูดกันว่า "พูดง่ายแต่ทำยาก ถ้าเราลองคิดดูดีๆ เราจะเห็นได้ว่า การพูดนั้นไม่ได้ง่าย อย่างที่เราคิดเลย
แต่ มันเป็นเพราะความเคยชินของเขาที่จะพูดอะไรออกมาโดยที่ไม่ได้คิด พูดออกมาตามที่ใจตัวเองต้องการ แต่เราได้คำนึงถึงจิตใจของผู้ฟังหรือเปล่า
ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นในหัวใจของเขา คนเรามันก็น่าแปลกดี ที่ต้องการจะพูดให้ผู้อื่นฟัง แต่ไม่ได้คำนึงเลยว่า
ผู้ฟังต้องการหรือรัก ชอบ ที่จะฟังหรือเปล่า ขอแค่ใจมันอยากพูดอย่างนั้นหรือ ?

การที่เราจะพูดให้ถูกต้องได้นั้น เราต้องคิดแล้วคิดอีก เลือกแล้วเลือกอีก เพื่อที่จะให้ได้มา
ซึ่งคำที่สวยงามและเหมาะสมที่สุดและต้องถูกกาลเทศะ ท่านศาสดา(ศ) ได้กล่าวว่า
" แน่แท้ บรรดาที่เชื่อใครๆมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่พูดความจริงบ่อยที่สุดนั่นเองและผู้ที่สงสัยใครๆมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่โกหกบ่อยที่สุดเช่นกัน "

เรามาดูว่าเราจะสามารถรักษาโรคร้ายจากคำพูดนี้ได้อย่างไร 

๑. เงียบ เราจะเห็นว่ายิ่งพูดมาก โอกาสผิดก็ยิ่งมาก อย่างการเขียนก็เช่นกัน ยิ่งเขียนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะผิดก็มีมากเท่านั้น
แต่ ถ้าไม่เริ่มเขียน โอกาสทีจะผิดก็ไม่มี แต่ดั่งที่รู้กันแล้วว่า คำที่เราเขียนนั้น ถ้าผิด เราก็ลบมันได้ แต่คำพูดของเราที่ได้ทำลายจิตใจผู้อื่นนั้น
มันไม่สามารถที่จะลบความปวดร้าวที่อยู่ภายในจิตใจของเขาได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลือกพูดแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

การเงียบบ่งบอกถึงการใช้สติปัญญา ท่านอิมามอะลี(อ.)ได้กล่าวว่า : " เมื่อไหร่ที่สติปัญญาสมบูรณ์สูงส่งแล้ว คำพูดของเขาก็จะน้อยลง "

๒. คิดก่อนพูด คำพูดนั้น จะออกมาจากความคิดและผ่านการกลั่นกรองที่ออกมาจากหัวใจ

๓. เราต้องคิดอยู่เสมอว่า คำพูดที่จะพูดออกไปนั้น มีคนกำลังอัดมันไว้ เมื่อเราคิดเช่นนี้ เราก็จะพยายามเลือกสรรคำพูดที่สวยงามและไพเราะที่สุดมาใช้
ให้เหมือนกับ เวลาที่มีการสัมภาษณ์ออกทีวี และเราจงรู้ไว้ว่ารอบๆตัวเรานั้นมีเครื่องอัดเสียงอยู่ ซึ่งมันจะอัดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เพื่อการสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น เราต้องสังเกตดูตัวเรา
และรักษาความตั้งใจที่บริสุทธิ์เอาไว้ เราต้องรวบรวมเอาความคิดที่ดีงามทั้งหมดไว้ในหัวใจของเราให้เข็มแข็ง
เพื่อที่จะนำเอาดวงวิญญาณของเราออกจากความมืดมาสู่สว่าง

0 ความคิดเห็น:

ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์


ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์

   
     การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์

     ๑. ถ้านั่งเก้าอี้อยู่หากพระสงฆ์เดินมานิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
           เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม
      ๒. ถ้าคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) นั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับเมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า
          นิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์

นิยมจัดอาสนะสงฆ์หรือเก้าอี้ไว้ต่างหากจากฆราวาส หรืออุบาสก-อุบาสิกา
ถ้าสถานที่ชุมชนนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้เฉพาะพระสงฆ์ หากท่านมาต้องลุกหลีกไป ให้โอกาสแก่พระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
หากชายจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งด้านซ้ายของพระสงฆ์
สตรีเพศ (อุบาสิกา) ไม่นิยมนั่งแถวเดียวกันหรืออาสนะยาวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจำเป็น ต้องมีบุรุษคั่นอยู่

    การตามส่งพระสงฆ์

ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
ถ้านั่งกับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้านิยมกราบหรือยกมือไหว้ตามควรแก่กรณี
เจ้าภาพหรือประธานพิธี ต้องตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถพ้นออกไปจากบริเวณงานแล้ว ก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงไหว้
       เมื่อพระสงฆ์เดินตามหลังมา

    ๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์
     ๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน
     ๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
     ๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ

    วิธีเดินตามหลังพระสงฆ์

เดินตามไปเบื้องหลัง โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่านระยะห่างจากท่าน ๒-๓ ก้าว
กิริยาเดินตามหลัง ต้องสำรวมเรียบร้อย
นิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่นขณะเดินตามหลังท่าน
นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศัยกับผู้อื่น

0 ความคิดเห็น:

การปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์


การปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์
พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้อง ตามกาลเทศะต่างๆดังต่อไปนี้

๑ การปฏิบัติตนทางกาย คือ ด้านการเคลื่อนไหวอิริยาบถทั้งสี่
- การลุกขึ้นยืนต้อนรับ ยกมือไหว้ และนั่งลงเมื่อท่านนั่งแล้ว แต่ถ้าเรานั่งกับพื้นไม่ต้องยืน
- การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่งให้ฆราวาสลุกให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า ถ้าต้องนั่งแถวเดียวกันให้นั่งแถวเดียวกับพระให้นั่งทางซ้ายมือท่าน ถ้าเป็นสตรีนั่งอาสนะยาวเดียวกันกับพระต้องมีบุรุษนั่งคั่นกลาง ถ้านั่งกับพื้นให้ปูอาสนะให้ท่านอีกชั้นหนึ่ง
- การรับรอง รับรองด้วยอัธยาศัยไมตรี นิมนต์ให้นั่งในที่สมควร ถวายของรับรอง เช่น น้ำดื่ม นั่งสนทนากับท่านโดย มีหลักห้าม ๖ อย่างคือ ไม่นั่งตรงหน้า ไม่นั่งไกลนัก ไม่นั่งสูงกว่า ไม่นั่งข้างหลัง ไม่นั่งใกล้นัก ไม่นั่งเหนือลม
- การตามส่งพระสงฆ์ ลุกขึ้นยืน เมื่อท่านเดินผ่านให้ไหว้ แต่ถ้านั่งพื้นไม่ต้องยืน เจ้าภาพเดินตามส่งจนพ้นบริเวณงาน ก่อนท่านจากไปให้ไหว้อีกครั้ง
- การให้ทางแก่พระสงฆ์ มีหลักต่างๆกันตามแต่กรณี ดังนี้
ถ้าพระสงฆ์เดินมาข้างหลังหรือเดินสวนทางกับพระสงฆ์ ให้หลีกชิดทางซ้ายมือของท่าน หันหน้ามาทางท่าน ยกมือไหว้จนกว่าท่านจะผ่านไป ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือพูดกับท่าน
ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่ ให้หยุดแล้วไหว้ท่าน หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าพระสงฆ์นั่งอยู่ หยุดนั่งลงแล้วไหว้ หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าเดินตามพระสงฆ์ ให้เดินเยื้องไปทางซ้ายมือของท่าน ไว้ระยะห่างจากท่านประมาณ ๒-๓ก้าว เดินในอิริยาบทเรียบร้อย ไม่ทำความเคารพ ทักทายผู้อื่น
- การไปหาพระสงฆ์ ต้องแต่งกายเรียบร้อย ไม่นั่งอาสนะเสมอกับท่าน นั่งคุกเข่ากราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบสุภาพ เรียบร้อย ประนมมือพูดกับท่าน ไม่นำเรื่องส่วนตัวไปเล่า ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดคำหยาบคาย พระสงฆ์อยู่ชั้นล่างไม่ควรขึ้นไปชั้นบน สตรีระวังเครื่องนุ่งห่มและไม่ควรสนทนากับพระสองต่อสอง เมื่อเสร็จธุระให้รีบลากลับและกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
- ไม่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอื่นๆ ต่อหน้าพระสงฆ์หรือพุทธสถาน เช่น ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน เป็นต้น ช่วยบำรุงรักษาศาสนสมบัติทั้งหลาย

๒ การปฏิบัติตนทางวาจา ต้องพูดจาด้วยความเคารพ ถูกต้อง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังนี้
- ถ้าเป็นพระสังฆราชใช้คำพูดกับพระองค์ท่านดังนี้ แทนพระองค์ว่า ฝ่าบาท แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระหม่อม (ญ)ว่า กระหม่อมฉัน รับพระดำรัส(ช)ว่า กระหม่อม (ญ)ว่า เพคะ
- ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสมเด็จ พระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่ ใช้คำพูดกับท่านดังนี้ แทนท่านว่า พระเดชพระคุณ แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระผม (ญ)ว่า ดิฉัน รับคำพูด(ช)ว่า ครับผม (ญ) ว่า เจ้าค่ะ
- ถ้าเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญแทนท่านว่า ท่านเจ้าคุณ พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานาแทนท่านว่า ท่านพระครู พระมหาเปรียญแทนท่านว่า ท่านมหา พระธรรมดาทั่วไปแทนท่านว่า พระคุณเจ้า พระผู้เฒ่าใช้คำแทนท่านว่า หลวงตาหรือหลวงปู่ ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูดใช้แทนท่านตามที่เป็นญาติ เช่น หลวงลุง หลวงน้า แทนตัวผู้พูด(ช)ว่ากระผม (ญ)ว่าดิฉัน คำรับ(ช)ว่าครับ (ญ)ว่าค่ะ

๓ การปฏิบัติตนทางใจ ควรเคารพพระสงฆ์ ไม่คิดในแง่ร้ายเพราะพระสงฆ์เป็นผู้มีความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง ปฏิบัติชอบยิ่ง ธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนาน ควรเคารพทางใจโดย
- คิดถึงท่านด้วยเมตตาจิต คือปรารถนาดีต่อท่าน
- คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือให้ความช่วยเหลือท่าน
ปฏิบัติได้เช่นนี้ย่อมเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีความเคารพต่อพระสงฆ์ทั้งกาย วาจา ใจ


0 ความคิดเห็น:

มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์


การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี
      เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาผู้ที่พบเห็น ถ้าแต่งกายเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดความประทับใจในทางที่ดี หากแต่งตัวไม่เหมาะสมผู้อื่นก็จะมองเราในลักษณะที่ไม่สู้ดีนัก แม้จะเป็นความจริงว่าคนเลวอาจซ่อนร่างอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามก็ได้ แต่ถ้าคนดีมีความรู้ความสามารถนั้นหากแต่งกายไม่เหมาะสม คนที่พบเห็นครั้งแรกอาจไม่เกิดความนิยม เลื่อมใส และเป็นการปิดโอกาสของตนเองที่จะได้แสดงความดีและความสามารถ ดั้งนั้น การแต่งกายจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก หลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกาย คือ แต่งกายสะอาด แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
      การแต่งกายสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดในที่นี้ไม่เกี่ยวกับ ความเก่าความใหม่ เพราะเครื่องแต่งกายที่ใหม่อาจสกปรกก็ได้ และเครื่องแต่งกายที่เก่ามีรอยปะชุนก็อาจดูสะอาดได้ หรือเครื่องแต่งกายราคาแพงก็อาจดูสกปรกได้ แต่เครื่องแต่งกายราคาถูกก็ดูสะอาดได้ ดังนั้น คนฐานะที่ไม่ดีนักก็สามารถแต่งตัวสะอาดได้เท่ากับคนฐานะดี โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่นั้นก็ควรซักรีดให้เรียบร้อย รองเท้าก็ขัดให้ดูพองาม กระเป๋าก็เช็ดถูให้ดูสะอาดเหล่านี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่จะทำหรือไม่เท่านั้น อนึ่งการอาบน้ำชำระกายให้สะอาด และการดูแลเล็บมือ เล็บเท้ามิให้สกปรก ก็เป็นสิ่งที่ควรดูแลรักษาทำความสะอาดด้วย
การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายควรแต่งให้เรียบร้อยพอควร เพราะ คนแต่ละคนหรือสังคมแต่ละแห่ง อาจมีเกณฑ์วัดความสุภาพเรียบร้อยต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้สามัญสำนึกสักหน่อย ก็จะพอรู้ว่าในสังคมไทยแต่งกายอย่างไรจึงจะถือว่าแต่งกายเรียบร้อย และอย่างไรถือว่าไม่เรียบร้อย เช่น การใส่เสื้อกล้ามไปร้านอาหาร การแต่งกายโดยเปิดเผยให้เห็นส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้ารัดแน่นจนน่าเกลียด หรือสวมกระโปรง กางเกงที่สั้นมาก ๆ เพื่อต้องการแสดงและเน้นสรีระของร่างกาย โดยเฉพาะการแต่งกายดังกล่าวข้างต้นไปในสถานที่ควรแก่การสักการะบูชา เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ หรือสถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ดังนี้
ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไป เช่น ไม่แต่งชุดดำไปงานแต่งงาน ไม่แต่งสีฉูดฉาดไปงานศพ เป็นต้น แต่งกายให้เกียรติเจ้าภาพของงานตามสมควร เช่น ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูงจะแต่งลำลองอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าไปงานแต่งงานที่จัดหรูหราเป็นพิธีรีตรอง จะสวมใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ไปคงไม่เหมาะสม เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าเรามีเงินน้อย ไม่มีชุดสากลหรือชุดพระราชทาน จะใส่กางเกงและเสื้อธรรมดาไปก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
การแต่งกายอย่างหนึ่งอาจเหมาะสมกับที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกที่หนึ่ง เช่น ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเดินไปในที่ห่างจากชาดหาดและสระมาก ๆ ก็ดูไม่เหมาะสม หรือการสวมรองเท้าแตะที่บ้าน หรือเดินเล่นนอกบ้านก็ไม่เป็นไร แต่จะใส่ไปโรงเรียนหรือไปทำงานบางอย่างก็ถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม เป็นต้น ความสะอาดและความสุภาพเรียบร้อยสำคัญที่สุด เพราะคนเรานั้นต่างจิตต่างใจกัน คนหนึ่งว่าเหมาะอีกคนว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็ให้ยึดหลักความสะอาดและสุภาพไว้ก่อน ซึ่งใช้ได้ทุกกรณี อันที่จริงการแต่งกายสะอาดและสุภาพแล้วก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องอื่นจนเกินไป

ดังนั้น มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์ จึงไม่ได้หมายถึง การแต่งกายตามแฟชั่น แต่เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา ดังตัวอย่างการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมดั่งที่เป็นข่าว จึงขอฝากข้อควรคำนึงถึงการแสดงมารยาทที่พึงประสงค์ต่อสถานที่อันควรเคารพสักการะ ได้แก่ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง ไม่แสดงอาการเหยียดหยามหรือพูดคำหยาบ ไม่ส่งเสียงเอะอะอื้ออึง และทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่กล่าวคำทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน ยกเว้นธรรมเนียมนั้นจะขัดกับศรัทธาของตนหรือขัดกับหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ คำนึงอยู่เสมอว่าสถานศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาใด ศาสนิกชนในศาสนานั้นก็เคารพสักการะ อย่าแสดงอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน


0 ความคิดเห็น:

มารยาททางสังคม : สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ

 มารยาททางสังคม : สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ

ก่อนที่จะกล่าวถึง “มารยาททางสังคม” ผู้เขียนขอให้มาทำความรู้จักกับคำว่า  “มารยาท” ก่อนว่า คืออะไร “มารยาท” หรือ “มรรยาท” (etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือก็คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัว แต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่า การกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว (บ้านมหาดอทคอม, 2552) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคล ได้แก่ การสัมมาคารวะ ความสุภาพ อ่อนน้อม ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น จึงกล่าวได้ว่า มารยาทเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคลที่แสดงออกทั้งในด้านกิริยา วาจา ซึ่งมีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ ที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม มีความสำรวม ถูกกาลเทศะ และปฏิบัติสิ่งที่พอเหมาะพองาม

        มารยาทจึงเป็นสิ่งที่เราเคยชินกับการได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ทั้งจากในบ้านที่คุณปู คุณย่า คุณตา คุณยาย บิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักพร่ำสอน ตลอดจนคุณครูและอาจารย์ในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ปลูกฝังเรา เพื่อให้เรามีมารยาททางสังคม รู้จักอะไรควรและไม่ควรกระทำ สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ มารยาททางสังคมจึงเป็นกรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553)

        ปัจจุบันด้วยพิษของโลกาภิวัฒน์และโลกของการแข่งขันและการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่แย่งเวลาในการที่จะปลูกฝังสิ่งดีงามเหล่านี้ไป เกิดการหลงลืมคำว่า “มารยาท” และได้เกิดการทำสิ่งต่างๆ ที่ยึดตนเองเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงคนในสังคมรอบข้างว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตนเองกระทำ กล่าวง่ายๆ ว่า “ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา เรื่องของเรา คือ เราต้องสบาย ต้องได้ ไม่ต้องเสีย หรือต้องสำเร็จ” จึงทำให้สังคมเกิดความสับสนว่า “สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ” “สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม” “สิ่งใดถูกกาลเทศะหรือไม่ถูกกาลเทศะ” บางคนก็กล่าวไปจนถึงการมีสมบัติผู้ดี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคม ความอคติต่อกันทำลายบรรยากาศดีๆ ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำให้สังคมรอบข้างไม่น่าอยู่ แต่ถ้าทุกคนหันมาปรับปรุงบรรยากาศที่ดีในสังคมตั้งแต่หน่วยเล็กจนถึงหน่วยใหญ่ที่สุด จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่มากขึ้น จะพบกับความถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำใจที่เอื้ออาทรกันและกัน การช่วยกัน/ ร่วมมือกันทำงาน และเกิดความสุขในการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและการทำงาน

        ดังนั้น มาช่วยกันทำสิ่งที่หายไปนั้นกลับคืนมาสู่สังคมไทยกันเถอะ นั่นคือ “มารยาททางสังคม” ที่ดูเหมือนสิ่งที่ดูเล็กน้อย แต่มีความสำคัญที่ทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมเราน่าอยู่ เพราะบุคคลเรานอกจากจะมีความสามารถในเชิงการทำงานที่ดีเยี่ยมแล้ว ยังต้องรู้จักรักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับผู้อื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ เพิ่มความสนใจให้กับผู้พบเห็น จึงนับได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินชีวิตประจำวันและในการทำงาน เพราะคนมีมายาทนั้นไม่ได้วัดกันที่คุณจบวุฒิอะไรมา หรือมีดีกรีระดับใด หรือมีตำแหน่งหน้าที่อะไร หรือมาจากวงค์ตระกูลไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่วัดกันที่บุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงออกมา โดยท่วงทีกริยามารยาทที่แสดงออกมาแล้วบุคคลอื่นรอบข้างเขารับได้หรือไม่ได้ บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง (อัจฉรา นวจินดา) แต่ถ้าบุคคลนั้นมีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นผู้บังคับบัญชา หรือมีความเก่งในหน้าที่การงาน แต่ไร้มารยาททางสังคม บุคคลนั้นก็ไม่น่าชื่นชมหรือน่านับถือ เพราะบุคคลนั้น ยังไม่รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ ยังนึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตน หรือยึดตนเองหรือที่เรียกว่า “อัตตา” เป็นหลัก ยังไม่รู้จักให้เกียรติคนอื่น ลืมมองดูคนอื่นที่อยู่รอบข้างว่า ทุกคนมีความสำคัญในสังคมไม่ว่าเขาจะอยู่ในฐานะใดในสังคมก็ตาม เขาก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน จึงควรให้เกียรติไม่ว่าเขาจะมีฐานะด้อยกว่าตนก็ตาม  หลายครั้งที่บุคคลเราเมื่อมีฐานะ มีหน้ามีตาในสังคม หรือมีอำนาจขึ้นมา มักจะลืมนึกถึงคนอื่นที่เขามีความเป็นมนุษย์เช่นตนเอง ที่มีความรู้สึกและมีความต้องการเช่นกัน แต่กลับแสดงอำนาจหรือมีกริยาที่แสดงท่าทีข่มคนอื่น เพื่อให้เขาดูด้อยกว่าตนเอง ซึ่งดูเหมือนจะดีที่สร้างสถานการณ์ที่เหนือกว่าบุคคลอื่น แต่สิ่งที่ทำไปนั้น กลับติดลบ เพราะสิ่งที่ทำไปไม่ได้ใจคนที่เห็นหรือคนที่ถูกกระทำ และบางครั้งกลับกลายเป็นการเอาคืน จึงทำให้บรรยากาศดีๆ ที่จะทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขหายไป และถ้าเป็นหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกันด้วยแล้ว ความร่วมมือในการทำงานจะหายไป ผลงานที่ได้อาจไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งดูเหมือนประสบความสำเร็จดี แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้วจริงๆ อาจไม่ได้ประสบความสำเร็จจริงๆ ก็ได้ เพราะคนอาจทำให้ด้วยหน้าที่ตามความจำเป็น หรือทำให้เพราะกลัวอำนาจของผู้มีอำนาจหน้าที่เหนือกว่า แต่ไม่ได้ใส่ใจกับงานที่ต้องทำ สิ่งที่ออกมาจึงไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น เป็นการทำให้ผ่านๆ หรือพ้นๆ ตัวไปเท่านั้น และเมื่อวงจรนี้ยังคงอยู่ ไม่มีการปรับปรุง ผลกระทบที่สะสมนั้นสุกง่อม ก็จะแสดงออกมา และวันนั้นการแก้ไขก็จะยากขึ้น ส่งผลร้ายต่อตนเอง คนรอบข้าง หน่วยงาน และสังคมที่อยู่ แต่ก็ไม่มีอะไรที่สายเกินไปที่เราจะหันกลับมาและเอาใจใส่กับคนรอบข้างอย่างจริงใจ ด้วยมารยาททางสังคมที่ดีงามให้แก่กันและกัน จะทำให้สิ่งที่ดีๆ กลับมาสู่สังคมเรามากยิ่งขึ้น เกิดความรักและความสามัคคีกันในสังคม

        การที่จะทำให้ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมน่าอยู่นั้น สิ่งที่ต้องปลูกฝังและฝึกฝนมาตั้งแต่เล็กจนโต ก็คือ การเป็นผู้มีมารยาท หรือบางคนโตแล้ว แต่ในวัยเด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังมา ก็สามารถปรับหรือพัฒนาตนเองได้ ถ้าใจคิดที่จะทำให้ดีขึ้น เพราะมารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา  อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้  ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดี มารยาทดีเท่ากัน แต่อาจไม่เหมือนกัน  เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย   มีตัวร่วม  คือ  แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว  เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ   เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น  ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย  สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน  สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ (อมร สังข์นาค) ดังนั้น มารยาทที่พบเห็นกันบ่อยๆ และควรรักษาไว้ในสังคมและปลูกฝังให้ลูกหลานคนไทยต่อไป เช่น

1. มารยาทในการพูด

        มารยาทในการพูดที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
1.1 คำกล่าว “ ขอบคุณ ” จะใช้เมื่อมีผู้อื่นให้สิ่งของ  ให้ความช่วยเหลือ ให้บริการ หรือเอื้อเฟื้อทำสิ่งต่างๆ ให้ ไม่ว่าจะโดยหน้าที่ของเขา หรือมีน้ำใจหรือไม่ก็ตาม เช่น บริกรเสริฟน้ำให้ คนลุกให้นั่งหรือช่วยถือของให้บนรถประจำทาง คนช่วยหยิบของให้เวลาของหล่นลงพื้น พนักงานรักษาความปลอดภัยช่วยบอกทางในขณะจอดรถ หรือคนช่วยเปิดประตูให้ เป็นต้น  การกล่าวคำขอบคุณนั้น ถ้ากล่าวกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือมีวัยเสมอกันจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” หรือถ้ากล่าวกับคนอายุน้อยกว่าจะใช้คำว่า  “ ขอบใจ ” ส่วนระดับของการขอบคุณนั้นจะใช้คำว่า “ขอบคุณ” “ขอบคุณมาก” “ขอบพระคุณมาก” “ขอบใจ” “ขอบใจมาก” ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดต่อสิ่งที่ทำให้หรือได้รับ โดยเฉพาะคำว่า “ขอบพระคุณมาก” จะใช้กับผู้อาวุโส มิใช่แค่คำพูดเท่านั้น น้ำเสียงที่พูด กิริยา ท่าทางที่พูดจะบอกว่า ผู้นั้นพูดออกมาจากความรู้สึกที่อยู่ในใจจริงๆ หรือพูดออกมาตามหน้าที่ หรือตามสถานการณ์ที่บังคับที่ทำให้ต้องพูด ผู้ฟังจะรู้สึกได้ถึงสิ่งที่พูด และยิ่งยกมือไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอบคุณกับผู้อาวุโสไปพร้อมกัน จะทำให้ดูอ่อนน้อม และได้รับความเมตตาจากผู้อาวุโสมากยิ่งขึ้น และการพูดขอบคุณแบบขอไปทีกับไม่พูดนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การพูดก็ดีกว่าการไม่พูด เพราะแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ดีกว่าการไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

1.2 คำกล่าว “ ขอโทษ ” จะใช้เมื่อทำสิ่งที่ไม่ดี /สิ่งที่ผิด / สิ่งผิดพลาด/ สิ่งที่ไม่เหมาะสม/ การรบกวน/ การขัดจังหวะขณะพูดหรือทำงานเมื่อมีธุระด่วน/ การพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม  เป็นต้น การกล่าวคำขอโทษนั้น จะใช้คำว่า “ขอโทษ” เมื่อผู้พูดรู้สึกสำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำ/ พูด/ แสดงออกมา ถ้าพูดออกมาด้วยความรู้สึกผิด จะทำให้คำขอโทษนั้นมีความหมายที่ผู้ฟังหรือคนกระทำรู้สึกดีขึ้นและพร้อมที่จะให้อภัย และถ้าเขาให้อภัยแล้ว ผู้ที่ทำผิดต้องกล่าวคำขอบคุณที่เขาให้อภัยเราด้วย แต่ถ้ากล่าวคำขอโทษออกมาแบบเสียไม่ได้ หรือในท่าทีที่ไม่เหมาะสม คำขอโทษนั้นจะมีน้ำหนักน้อยที่อาจทำให้เขาอาจไม่ให้อภัยหรือให้อภัยตามมารยาทสังคมเท่านั้น แต่ในใจยังรู้สึกติดใจอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในอนาคตได้ที่อาจมีการเอาคืนในภายหลัง แต่การกล่าวคำว่าขอโทษแบบเสียไม่ได้ก็ยังดีกว่าการไม่ยอมกล่าวคำขอโทษออกมา เพราะย่อมแสดงถึงว่าเราลดตัวตนหรือทิฐิของเราลงมาในระดับหนึ่ง  และยอมที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ถึงแม้ความรู้สึกสำนึกผิดจะช้าก็ตาม ในการกล่าวคำขอโทษนั้น ถ้ากล่าวกับผู้อาวุโสควรยกมือไหว้พร้อมกันไปด้วย จะทำให้ผู้อาวุโสที่เราขอโทษเขารู้สึกดี และบอกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้นั้นด้วย จะทำให้ดูดีและน่ารักในสายตาผู้อาวุโสและสายตาของผู้ที่ได้พบเห็นหรืออยู่ในสถานการณ์นั้น

1.3 คำพูดที่ใช้เมื่อสนทนาหรือกล่าวถึงผู้อื่นในลักษณะให้เกียรติ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ดังคำโบราณว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว” ก็แสดงว่า การพูดนั้นเป็นคุณแก่ผู้พูด คำพูดที่จะให้คุณ ก็คือ คำพูดดีๆ ที่พูดต่อกัน น้ำเสียงในการพูดให้น่าฟัง อ่อนโยน ใช้ภาษาที่เหมาะสม ถูกกาลเทศะ แสดงความให้เกียรติ รักษาน้ำใจผู้อื่น และไม่ควรพูดประชดประชันหรือซุบซิบนินทาผู้อื่นให้เสียหาย คำพูดดีๆ นั้นจะหมายรวมถึงการที่ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น หรือยกตนข่มผู้อื่น หรือแสดงตนว่าอยู่เหนือคนอื่น หรือพูดไม่ถูกกาลเทศะ การพูดเหล่านี้นอกจะไม่ให้คุณแล้ว ยังแสดงถึงความไม่มีมารยาทในการพูด จะทำให้เกิดผลกระทบตามมากับผู้พูด ทำให้ผู้พูดขาดทุน เพราะขาดความน่ารัก ไม่ได้ใจผู้ฟัง และยังก่อให้เกิดความขัดแย้งกันตามมาด้วย การพูดที่ให้เกียรติผู้อื่นนั้น ไม่ใช่ให้เกียรติเฉพาะผู้อาวุโส/ ผู้ใหญ่เท่านั้น ต้องรวมไปถึงผู้ที่มีศักดิ์และสถานะเท่าเทียมกัน จนถึงผู้ที่มีศักดิ์หรือสถานภาพด้อยกว่าผู้พูดด้วย โดยเฉพาะถ้าผู้พูดเป็นผู้อาวุโสกว่าหรือเป็นผู้บังคับบัญชา ยิ่งต้องพูดดีและให้เกียรติกับผู้ที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าเขาอยู่ในสถานภาพไหนก็ตาม จะทำให้ได้ใจผู้ฟัง และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทำงาน

1.4 การทักทาย ในประเพณีไทยจะทักทายกันโดยการไหว้และกล่าวคำว่า “สวัสดี” ส่วนสากลเวลาพบกันจะทักทายกันโดยยื่นมือขวาจับกันและเขย่ามือเล็กน้อย และทักทายด้วยคำสวัสดีเป็นภาษาต่างประเทศและถามสารทุกข์สุกดิบระหว่างกัน

1.5 การแนะนำบุคคลให้รู้จักกัน หลักโดยทั่วๆไปแล้ว  จะแนะนำผู้อาวุโสมากก่อนผู้มีผู้อาวุโสน้อยกว่า หรือแนะนำผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตำแหน่งระดับสูงกว่าก่อนผู้อื่น  ถ้ามีสถานภาพเสมอกันก็ให้แนะนำตามความเหมาะสม อาจแนะนำผู้ที่มาก่อนก็ได้

2. มารยาทในการรับประทานอาหาร

        การรับประทานอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงการมีมารยาททางสังคมของบุคคลว่า บุคคลนั้นได้รับการอบรมมาดีหรือไม่ มารยาทในการรับประทานอาหาร ได้แก่  มารยาทในการตักอาหาร โดยเมื่อเริ่มรับประทานอาหารต้องรอให้ผู้ใหญ่ แขกผู้ใหญ่ หรือเจ้าภาพตักอาหารก่อน ควรใช้ช้อนกลางในการตักอาหารจากจานกับข้าวกลางเพื่อแบ่งอาหารใส่จานของตน ควรตักอาหารให้พอกับการรับประทาน ไม่ควรตักอาหารมาใส่จานของตนมากจนรับประทานไม่หมด ไม่ควรตักอาหารข้ามหน้าผู้อื่น การรับประทานอาหารควรจับช้อนและซ้อม และ/ หรือตะเกียบให้ถูกหลักการใช้    ไม่พูดในขณะเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก เพราะอาจทำให้อาหารล่วงหล่นจากปากและสำลักอาหารได้ ไม่ควรเคี้ยวอาหารหรือซดน้ำแกงเสียงดัง  ไม่ควรไอ จาม สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะ แกะเกาในขณะรับประทานอาหาร หากจำเป็นต้องใช้มือป้องปาก หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือเช็ดน้ำมูก หากมีอาหารที่ต้องคายออกให้ป้องปากและคายใส่กระดาษเช็ดปากที่รองรับอยู่ แล้วปิดให้มิดชิด ถ้าจะใช้ไม้จิ้มฟัน ควรใช้มือป้องปากไว้ขณะแคะ เป็นต้น

3. มารยาทในการเดิน ยืน และนั่ง

        การเดิน ควรเดินด้วยอาการสำรวม และเมื่อเดินกับผู้ใหญ่ไม่ควรเดินนำหน้า ควรเดินตาม ยกเว้น ต้องนำทางผู้ใหญ่ และควรเดินเยื้องอยู่ด้านข้างใดข้างหนึ่งแล้วแต่สถานที่ ซึ่งปกติจะอยู่ด้านซ้ายมือของผู้ใหญ่ และห่างพอสมควร  เมื่อเดินสวนทางกันควรเดินชิดซ้าย และถ้าสวนทางกับผู้ใหญ่ควรก้มตัวเมื่อเดินผ่าน ถ้าเป็นทางแคบควรหยุดให้ผู้ใหญ่ไปก่อน ถ้าผู้ใหญ่นั่งอยู่ ควรหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เป็นต้น ส่วนการยืนนั้น ไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่ และถ้ายืนอยู่กับผู้ใหญ่ต้องอยู่ในอาการสำรวม ไม่ยืนถ่างขา ไม่ยืนกอดอกหรือเอามือล้วงกระเป๋า เป็นต้น ส่วนการนั่ง ควรนั่งในท่าที่สบาย แต่อยู่ในอาการสำรวม ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งถ่างขา นั่งโยกเก้าอี้ หรือนั่งประเจิดประเจ้อที่ทำให้ดูโป้ หรือไม่อยู่ในอาการสำรวม  ไม่ควรเยียดขาหรือกระดิกเท้าขณะนั่งเวลานั่งกับผู้อื่นหรือในที่ระโหฐาน และไม่นั่งค้ำศีรษะผู้ใหญ่ เป็นต้น

4. มารยาทในการไปชมมหรสพ การไปซื้อของ หรืออยู่ในที่สาธารณะ

        การไปชมมหรสพ เช่น คอนเสิร์ต หนังหรือละคร ฯลฯ หรือการไปซื้อของ ควรเข้าแถวซื้อตั๋ว/ ซื้อของตามลาดับก่อน-หลัง ไม่แทรกหรือตัดแถวผู้อื่น ในขณะชมมหรสพไม่ควรลุกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็น ไม่ควรส่งเสียงรบกวนผู้อื่นโดยการสนทนากันดังๆ วิพากษ์วิจารณ์การแสดง หรือแสดงอาการสนุกสนาน เป่าปาก ตบมือจนเกินกว่าเหตุ ไม่ควรเกี้ยวพาราสี หรือกอดจับต้องกันเมื่ออยู่ในโรงมหรสพ (อมรรัตน์ เทพกาปนาท, 2553) หรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

5. มารยาทในการแต่งกาย

        การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ (http://web.eng.nu.ac.th ) ดังนี้

5.1 ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษ โดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย  ได้แก่  เสื้อผ้า ถุงเท้า  รองเท้า  เครื่องประดับ  กระเป๋าถือ  ต้องสะอาดหมด  ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย     ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่   ผม  ปาก  ฟัน  หน้าตา  มือ  แขน  ลำตัว  ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ   ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว  ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
5.2 ความสุภาพเรียบร้อย  โดยเครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย  ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป   ไม่ใช้สีฉูดฉาด   ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น   ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้  เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
5.3 ความถูกต้องกาลเทศะ  โดยการแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ  เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง  การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยม สถานที่ และงานที่จะไป เช่น งานศพก็ควรใส่สีดำ งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส หรือไปงานที่เป็นทางการควรดูว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น ไปประชุม หรือไปศึกษาดูงาน ควรแต่งกายให้สุภาพตามประเพณีนิยม ฯลฯ เพื่อให้สมเกียรติกับงานที่ไป
 
6. มารยาทในการรักษาเวลา

        การนัดหมายกับผู้อื่นในการทำงาน การประชุม การไปเที่ยว จะต้องตรงเวลาและรักษาเวลาให้ดี ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถทำได้ต้องรีบแจ้งหรือบอกผู้ที่เรานัดหมายก่อนล่วงหน้าหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าไม่แจ้งและคนที่นัดรอเก้อ จะถือว่าเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา และไม่มีมารยาททางสังคม การรักษาเวลาถือเป็นการให้เกียรติต่อกันที่มีความสำคัญมากพอๆ กับการรักษาคำพูด

7. มารยาทในที่ประชุม 
               
        มารยาทในที่ประชุมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการให้เกียรติกัน และเคารพในการแสดงความคิดเห็นของกันและกัน มารยาทที่ต้องรักษาไว้ เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าประชุม การขออนุญาตที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมสายหรือการออกจากห้องประชุมก่อนกำหนด การยกมือขวาขึ้นเพื่อขอแสดงความคิดเห็นหรือต้องการถาม การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอดทนฟังเรื่องราวที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็นให้จบก่อนว่าเขาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือบอกอะไร ไม่พูดแทรกหรือตัดบทไม่ให้พูดขณะที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็น  การไม่พูดกวนหรือต่อเรื่องให้ยาวออกนอกประเด็นจากเรื่องที่ประชุม การเคารพกฎ กติกาของที่ประชุม การเคารพมติของที่ประชุม การไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์หรือนินทาผู้อื่นในขณะประชุม การพูดในที่ประชุมควรใช้เหตุผล หลักการ และความจริง ไม่ใช้อารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่จะเอาชนะ มีอัตตาสูง หรือต้องการพูดปกป้องตนเองก่อนที่จะฟังเรื่องราวให้จบ จะทำให้ที่ประชุมปั่นป่วน ไร้ระเบียบ และทำให้การประชุมนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

        มารยาททางสังคมยังมีอีกหลายด้านที่เราควรยึดในการปฏิบัติ  เช่น การรู้จักเกรงใจในเรื่องการขอความช่วยเหลือ การขอยืมของ การสั่งงาน การไปพบ/การไปเยี่ยม/การใช้โทรศัพท์ติดต่อในเวลาส่วนตัวหรือที่บ้าน เป็นต้น การไม่ถือวิสาสะในเรื่อง การเข้าห้องผู้อื่นโดยไม่เคาะประตู การหยิบหรือใช้หรือเข้าไปสำรวจบ้านหรือห้องของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดจดหมายหรืออิเมลของคนอื่นออกอ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น การให้เกียรติผู้อื่น ด้วยวาจาและท่าทาง การใช้โทรศัพท์ การนอน การช่วยเหลือผู้อื่น การเล่นกีฬาหรือเกมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มเติมได้ ดังนั้น การที่มนุษย์เราอยู่ในสังคมเดียวกันจะต้องเคารพกฎ กติกา ขนบธรรมเนียมประเพณี และบรรทัดฐานของสังคมที่เราอยู่ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มารยาททางสังคมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้คนเรารู้สึกดีต่อกัน สิ่งที่ดูเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะการมีมารยาทดีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง ผู้ที่มีมารยาทดี มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ  (อัจฉรา นวจินดา) จึงควรส่งเสริมให้สังคมเรารักษามารยาททางสังคมกันเถอะ

................................................

0 ความคิดเห็น:

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาท

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ และมารยาทชาวพุทธ
1. หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ
1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง
เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด
2. พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ
ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง
พระธรรมทูต (อ่านว่า -ทำมะทูด) พระธรรมจาริก หมายถึงภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่างๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา
พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน” ดังนี้เป็นต้น
พระธรรมจาริก มีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูต แต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต
ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือ พระธรรมทูตในประเทศ กับ พระธรรมทูตต่างประเทศ
1.2 การปฏิบัติตนตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6
ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง บุคคลที่ต่ำกว่า ลูกจ้างเปรียบเสมือนทิศเบื้องล่าง ที่นายจ้างต้องแสดงความกตัญญูต่อลูกจ้างเพราะลูกจ้างทำกิจการงานต่างๆให้ สำเร็จประโยชน์ ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็ต้องแสดงความกตัญญูต่อนายจ้างในฐานะของผู้อุปการะคุณ ดังนี้
หน้าที่ของนายจ้างพึงมีต่อลูกจ้าง หน้าที่ลูกจ้างพึงมีต่อนายจ้าง
1.จัดงานให้ทำตามความเหมาะสม
2.ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งาน
3.จัดให้มีสวัสดิการที่ดี
4.มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
5.ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร
1.เริ่มทำงานก่อน
2.เลิกงานทีหลัง
3.เอาแต่ของที่นายให้
4.ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
5.นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่
2. หน้าที่ชาวพุทธ
2.1 การปฏิสันถารที่เหมาะสมต่อพระภิกษุในโอกาสต่าง ๆ
การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ในที่สาธารณะเนื่องจากพระสงฆ์อยู่ในฐานะที่ควรเคารพของชาวพุทธชาวพุทธจึงควรเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ดังต่อไปนี้
1) เวลาพบปะในสถานที่ต่าง ๆ เวลาพบปะพระสงฆ์ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตามถนน บนรถโดยสาร หรือสถานที่ต่าง ๆ พึงปฏิบัติดังนี้
1.1) แสดงความเคารพ ด้วยการประนมมือ (อัญชลี) ไหว้ (วันทา หรือนมัสการ) กราบ (อภิวาท) หรือลุกขึ้นยืนรับ (ปัจจุคมน์) ตามสมควรแก่โอกาสและสถานที่
1.2) ไม่พึงนั่งบนอาสนะ (ที่นั่ง) เดียวกับพระภิกษุ ถ้าจำเป็นต้องนั่ง ก็พึงนั่งด้วยอาการเคารพสำรวม
1.3) สำหรับสตรี จะนั่งบนม้ายาวหรือเก้าอี้ยาว เช่น ที่นั่งในรถโดยสาร รถไฟ เป็นต้น ไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้จะนั่งคนละมุมก็ตาม ในกรณีที่จำเป็น จะต้องมีบุรุษมานั่งคั่นกลางให้
1.4) ในห้องประชุมที่มีพระสงฆ์เข้าร่วมด้วย เช่น ในการฟังปาฐกถา การบรรยาย ถึงจัดให้ท่านนั่งแถวหน้า ถ้าจัดที่นั่งให้สูงกว่าคฤหัสถ์ได้ยิ่งเป็นการดี
1.5) บนเรือหรือบนรถโดยสาร เป็นต้น เมื่อเห็นพระภิกษุขึ้นมา พึงลุกให้ที่นั่งแก่ท่านด้วย

2) การถวายภัตตาหารและปัจจัยที่สมควรแก่สมณะ การถวายภัตตาหารและปัจจัยที่สมควรแก่สมณะ พึงปฏิบัติดังนี้
2.1) เวลาใส่บาตร พึงถอดรองเท้า ตักข้าวและอาหารใส่บาตรด้วยความเคารพแล้วย่อตัวลงไหว้
2.2) เมื่อถวายอาหาร หรือเครื่องอุปโภคแก่พระภิกษุ พึงประเคน คือยกของให้ท่านภายใน “หัตถบาส” (ระยะบ่วงมือ คือ ห่างประมาณหนึ่งศอก)
2.3) เมื่อนำของไปถวายพระภิกษุหลังเที่ยง ไม่พึงประเคนให้ท่าน ถึงวางไว้เฉย ๆ หรือให้ศิษย์วัดนำไปเก็บไว้ต่างหาก (การปฏิบัติเช่นนี้เพื่อมิให้ท่านละเมิดข้อบัญญัติว่าด้วยการสะสมอาหาร)
2.4) เมื่อจะถวายปัจจัย (เงิน) ไม่พึงประเคนให้ท่าน พึงถวายเฉพาะใบปวารณามอบเงินให้ไวยาวัจกรหรือศิษย์วัด ในกรณีที่ไม่มีไวยาวัจกรหรือศิษย์วัด พึงเอาปัจจัยใส่ซองใส่ลงในย่ามให้ท่านเอง
2.5) เวลานิมนต์พระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านตน ไม่พึงระบุชื่ออาหาร
2.6) ถ้าจะนิมนต์พระสงฆ์ไปรับสังฆทาน ไม่พึงเจาะจงภิกษุผู้รับ เช่น ขอนิมนต์ท่านเจ้าคุณพร้อมพระสงฆ์อีกห้ารูปไป
รับสังฆทาน เป็นต้น
3) เวลาสนทนากับพระสงฆ์หรือฟังโอวาทการสนทนาหรือฟังโอวาทกับพระสงฆ์ ควรปฏิบัติดังนี้
3.1) ใช้สรรพนามให้เหมาะสม คือใช้สรรพนามแทนผู้ชายว่า “ผม, กระผม” ผู้หญิงใช้คำว่า “ดิฉัน”
3.2) ใช้สรรพนามแทนท่านว่า “พระคุณเจ้า, หลวงพ่อ, ท่านพระครู, ท่านเจ้าคุณ, ใต้เท้า, พระเดชพระคุณ” ตามควรแก่กรณี
3.3) เวลารับคำ ผู้ชายใช้คำว่า “ครับ, ขอรับ” ผู้หญิงใช้คำว่า “ค่ะ, เจ้าค่ะ”
3.4) เวลาพระท่านพูด พึงตั้งใจฟังโดยความเคารพ ไม่พึงขัดจังหวะหรือพูดแทรกขึ้นมาในระหว่างที่ท่านกำลังพูดอยู่
3.5) เวลาท่านให้โอวาทหรืออวยพร พึงประนมมือฟังโดยเคารพ
3.6) เวลารับไตรสรณคมน์ และรับศีล พึงว่าตามด้วยเสียงดัง ไม่พึงนั่งเงียบเฉย ๆ
3.7) เวลาฟังพระสวด เช่น สวดเจริญพุทธมนต์ สวดศพ เป็นต้น พึงประนมมือฟังด้วยความเคารพ ไม่คุยกันหรือทำอย่างอื่นในระหว่างที่ท่านกำลังสวด
พระสงฆ์ คือผู้สละความสุขหรือวิธีการดำเนินชีวิตแบบฆราวาสเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาเผยแผ่แสดงแก่พุทธศาสนิกชน เพราะฉะนั้น เราจึงควรประพฤติปฏิบัติต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้องเหมาะสมตามมารยาทที่พึงปฏิบัติ ดังนี้
การเดินสวนกับพระสงฆ์ เมื่อเดินสวนกับพระสงฆ์ ควรหลีกติดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์ ยืนตรง เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านหน้าให้น้อมตัวลงไหว้ หากท่านพูดด้วย ควรประนมมือพูดกับท่านด้วยกิริยาอาการอันสำรวม หากท่านไม่พูดด้วยควรยกมือไหว้แล้วลดมือลง
เมื่อท่านเดินผ่านไป
การเดินผ่านพระสงฆ์ หากพระสงฆ์ยืนอยู่ให้น้อมตัวลงไหว้ แล้วเดินก้มตัวหลีกไป หากพระสงฆ์นั่งอยู่ ให้คลานลงมือทั้งสองข้างเมื่อถึงตรงหน้าพระสงฆ์ให้ก้มลงกราบหรือประนมมือไหว้ตามที่สถานที่จะเอื้ออำนวยแล้วคลานลงมือผ่านไป
การเดินตามพระสงฆ์ ให้เดินตามหลังพระสงฆ์โดยเยื้องไปทางซ้ายของท่าน ระยะห่างประมาณ 2-3 ก้าว และเดินด้วยอาการสำรวมกิริยาให้เรียบร้อย
การสนทนากับพระสงฆ์ เมื่อกำลังสนทนากับพระสงฆ์ ควรประนมมือในขณะที่พูดกับท่าน ไม่ควรพูดล้อเล่น พูดคำหยาบและเรื่องไร้สาระรวมทั้งไม่พูดสนทนากับท่านในที่ลับตาสองต่อสองเพราะเป็นการผิดวินัยของพระสงฆ์ และก่อให้เกิดข้อครหาแก่บุคคลทั่วไป
2.2 การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2
คำว่า “ปฏิสันถาร” ได้แก่ การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น, อาการเครื่องเผื่อแผ่, การต้อนรับปราศรัย มี 2 ประการได้แก่
1. อามิสปฏิสันถาร การปฏิสัณฐานด้วยอามิส ได้แก่ การต้อนรับด้วยปัจจัยสี่อย่างใดอย่างหนึ่งพอเหมาะพอควรแก่แขกผู้มาหา โดยความสุภาพเรียบร้อยสิ่งที่มนุษย์เกิดช่องว่างระหว่างกันและกันก็คือ เรื่องเกี่ยวกับปัจจัย 4 ได้แก่อาหารการบริโภค เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมเครื่องประดับต่างๆ เข้าด้วย ที่อยู่อาศัยรวมยวดยานพาหนะต่างๆ เข้าด้วย ยารักษาโรคมรวมเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ เข้าด้วย ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราไม่เหมือนกัน บางคนอยู่ในสกุลหรือภูมิประเทศได้เปรียบอาจมีปัจจัย 4 เหล่านี้ใช้อย่างเหลือเฟือ ส่วนคนที่อยู่ในสกุลหรือภูมิประเทศอันเสียเปรียบอาจมีปัจจัย 4 เหล่านี้น้อยหรือหาไม่ได้เลย ถ้ามนุษย์เราไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เข้าทำนองที่ว่า “คนรวยก็รวยเหลือล้น คนจนก็จนเหลือหลาย” ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมนุษย์ด้วยกันอย่างมากมายจนกลายเป็นแบ่งชนชั้นแตก แยกบาดหมาง ไม่มีทางประนีประนอมกันได้ เกิดการยื้อแย่งแข่งขันเบียดเบียน ปล้นสดมภ์เข่นฆ่ากันอย่างกว้างขวาง หาความสงบสุขไม่ได้ ฉะนั้น คนรวยจึงต้องสงเคราะห์เกื้อกูลคนจนด้วยปัจจัย 4 ตามสมควร อย่าเป็นคนคับแคบเสวยสุขอยู่แต่ผู้เดียว อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบคนจนอยู่ทุกท่า แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา จะเข้าตำราที่ว่า “ยิ่งรวยก็ยิ่งคับแคบ ยิ่งรวยก็ยิ่งงก ยิ่งรวยก็ยิ่งเห็นแก่ตัว ยิ่งรวยก็ยิ่งเอาเปรียบคนอื่น” ถ้าสังคมมีบุคคลประเภทนี้มากความสงบสุขจะมีไม่ได้เลย
รวม ความว่า อามิสสปฏิสันถาร หมายถึง การให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การต้อนรับปราศรัยด้วยใช้พัสดุสิ่งของเหมาะแก่ความต้องการ โดยควรแก่ฐานะของแขกผู้มาหา
2. ธัมมปฏิสันถาร การปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่ การต้อนรับด้วยพูดจาปราศรัย ด้วยคำพูดที่สุภาพอ่อนโยน และคำพูดที่อ่อนหวาน และประกอบด้วยประโยชน์
มนุษย์เรายามประสบเคราะห์กรรมมีทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ย่อมต้องการที่พึ่งทางใจ หากเราไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือได้ทางปัจจัย 4 เพราะเราก็อยู่ในสภาพเดียวกับเขา แต่เรามีกำลังใจดีกว่าเขา รู้วิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีกว่าเขา เราจะนิ่งเฉยดูความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์โดยไม่ช่วยเหลืออะไรเลยนั้นไม่ได้ ที่ถูกต้องใช้ธรรมเป็นเครื่องปลุกปลอบใจเขา และข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้เขาอยู่รอดปลอดภัยพ้นจากเคราะห์กรรมต่างๆ นั้น
การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างนี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ปฏิสันถาร” แปลว่า การอุดรูรั่วต่างๆ ระหว่างตนกับคนอื่น ก่อให้เกิดสามัคคีธรรมขึ้นระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ลบล้างรอยแตกแยกความร้าวฉานให้หมดสิ้นไป มีความคิดเห็นตรงกันแม้จะมีฐานะต่างกันก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบ
มารยาทชาวพุทธ
สาระสำคัญ
มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก ความสามัคคี อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย ที่คนไทยทุกคนควรประพฤติปฏิบัติและสืบทอดต่อไป
เนื้อหา
มารยาทชาวพุทธ
1. มารยาทในสังคม
2. มารยาทในการแต่งกาย
3. มารยาทในการยืน
4. มารยาทในการเดิน
5. มารยาทในการนั่ง
6. มารยาทในการไหว้
7. มารยาทในการกราบ
8. มารยาทในการใช้กิริยาวาจา
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายมารยาทในสังคม การแต่งกาย การยืน การเดิน การนั่ง การไหว้ การกราบและการใช้กิริยาวาจาได้
2. สามารถปฏิบัติตน ในการมีมารยาทสังคม แต่งกาย ยืน เดิน นั่ง ไหว้ กราบและใช้กิริยาวาจาได้ถูกต้องเหมาะสม
มารยาทในสังคม
มารยาท1 คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัวแต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่าการกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว
มารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดีมารยาทดีเท่ากันแต่อาจไม่เหมือนกัน เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย มีตัวร่วม คือ แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ
มารยาทในการแต่งกาย
การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ2 ดังนี้
1. ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
2. ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
3. ความถูกต้องกาลเทศะ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยมและสถานที่
ข้อควรปฏิบัติในการแต่งกาย
1. ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่จะไป เช่น งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส งานอวมงคล ถ้าเป็นงานศพก็ควรใส่สีดำ เป็นต้น
2. ให้เหมาะสมกับความสำคัญของงาน เช่น งานระหว่างเพื่อนฝูง งานรัฐพิธี ถ้าเป็นงานศพ ก็ต้องดูว่าเป็นงานศพทั่วไปหรืองานศพพระราชพิธี
3. ให้เหมาะสมกับเวลา เช่น เป็นงานราตรีสโมสรหรืองานกลางคืนธรรมดา
4. ให้เหมาะสมกับฐานะและหน้าที่ เช่น เป็นครู เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้า เป็นคนรับใช้
5. ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เป็นคนมีอายุก็ไม่ควรแต่งเป็นวัยรุ่นเกินไปเป็นเด็กก็ไม่ควรแต่งให้เป็นผู้ใหญ่เกินไป
6. ให้เหมาะสมกับยุคและสมัยนิยม ไม่นำสมัยเกินไปหรือล้าสมัยเกินไป
7. พึงแต่งกายให้สมเกียรติกับงานที่ได้รับเชิญ
มารยาทในการยืน
1. การยืนตามลำพัง
การยืนตามลำพังจะยืนแบบใดก็ได้แต่ควรจะอยู่ในลักษณะสุภาพ สบายโดยมีส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าพัก ปล่อยแขนแนบลำตัว ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา จะยืนเอียงได้บ้างแต่ควรอยู่ในท่าที่สง่า
2. การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนี่ง ทำได้ 2 วิธี คือ
2.1 ยืนตรง ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือสองข้างแนบลำตัวหรือประสานกันไว้เบื้องหน้าใต้เข็มขัดลงไป ท่าทางสำรวม
2.2 ยืนตรงค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสานไว้ข้างหน้า ท่าทางสำรวมการประสานมือ ทำได้ 2 วิธี คือ คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้หรือหงายมือทั้งสอง สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่จะใช้จนถึงการยืนเฉพาะหน้าที่ประทับ การค้อมตัวจะมากน้อยย่อมสุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้ามีอาวุโสหรือเป็นที่เคารพสูง ก็ค้อมตัวมาก
มารยาทในการเดิน
1. การเดินตามลำพัง
ควรเดินอย่างสุภาพ ไหล่ตั้ง หลังตรง ช่วงเท้าไม่ยาวหรือสั้นเกินไปแกว่งแขนพองาม สตรีควรระมัดระวังสะโพกให้อยู่ในลักษณะที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
2. การเดินกับผู้ใหญ่
ควรเดินเยื้องไปทางซ้ายหลังผู้ใหญ่ ห่างกันพอประมาณตามสภาพของสถานที่แต่ให้อยู่ในลักษณะนอบน้อม
3. การเดินผ่านผู้ใหญ่
ในกรณีที่ผู้ใหญ่ยืนอยู่ ให้เดินค้อมหัวผ่านมากน้อยตามอาวุโส ถ้าผู้ใหญ่ทักทาย ให้หยุดยืนน้อมกายลงพูดด้วย เมื่อจบแล้วให้ไหว้ครั้งหนี่งแล้วน้อมตัวเดินผ่านไป
ถ้าผู้ใหญ่นั่งพื้นหรือนั่งเก้าอี้ให้เดินเข่าผ่าน เมื่อผู้ใหญ่ทักทายให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าพูดด้วย เมื่อจบแล้วให้กราบ 1 ครั้ง แล้วเดินเข่าผ่านไป
4. การเดินสวนกับผู้ใหญ่
ควรน้อมตัวเมื่อผ่านใกล้ จะค้อมตัวมากน้อยก็ขึ้นอยู่กัยอาวุโส ในกรณีที่เป็นทางแคบ ๆ ควรหยุดยืนในอาการสำรวมให้ผู้ใหญ่ผ่านไปก่อน
5. การเดินผ่านหลังผู้อื่น
ควรอยู่ในกริยาสำรวม ค้อมตัวลงขณะเดินผ่าน มือสองข้างแนบลำตัว ถ้าเดินผ่านอย่างใกล้ชิดและเป็นผู้อาวุโสมากให้ค้อมตัวและไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอโทษก่อนจะเดินผ่าน
6. การเดินเข้าสู่ที่ชุมชน
ควรเดินเข้าไปอย่างสุภาพ ก้มตัวตามอาวุโส อย่าให้เสื้อผ้าไปกรายผู้อื่นเลือกที่นั่งตามเหมาะสม ถ้าเป็นสถานที่นั่งกับพื้น ต้องผ่านระยะใกล้มากให้ใช้เดินเข่า
มารยาทในการนั่ง
1. การนั่งเก้าอี้
ควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขาหรือพาดบนที่เท้าแขนเก้าอี้ก็ได้ไม่ควรโยกเก้าอี้ไปมา ผู้หญิงควรระมัดระวังเครื่องแต่งกายไม่ให้ประเจิดประเจ้อ
2. การนั่งกับพื้น
ควรนั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ผู้หญิงถ้าเท้าแขนก็อย่าเอาท้องแขนออกข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน
มารยาทในการไหว้
การไหว้3 คือ อริยาบถที่มือทั้งสองข้างประนมนิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจดกันไม่เอาปลายนิ้วออกจากกัน การไหว้มีหลายแบบ คือ
1. การไหว้พระสงฆ์
เมื่อพนมมือแล้ว ให้ยกมือที่พนมขึ้นจรดหน้าผาก ให้ปลายหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้วค้อมศีรษะ ลงให้ปลายนิ้วจรดต้นผม แนบมือให้ชิดหน้าผาก ค้อมตัวให้มาก ผู้ชายให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงให้ก้าวขาขวาออกไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วย่อตัวไหว้
2. การไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์และญาติผู้ใหญ่4
ให้พนมมือยกขึ้นจนนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้ชายค้อมตัวลงเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วย่อตัวลงแต่พองาม
3. การไหว้ผู้ที่เคารพนับถือทั่วไป
ให้พนมมือเอาปลายนิ้วแม่มือจรดปลายคาง นิ้วชี้จรดปลายจมูกก้มหน้าเล็กน้อยพองาม
4. การรับไหว้
ให้พนมมือยกขึ้นมาอยู่ที่ระดับอก ปลายนิ้วอยู่ระหว่างปลายคางก้มหน้าเล็กน้อย
มารยาทในการกราบ
1. การกราบบุคคล
การกราบเริ่มจากการนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ค้อมตัวลงหมอบให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง วางแขนทั้งสองกราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขนจากศอกถึงมือ พนมมือวางลงกับพื้นแล้วก้มศีรษะลงให้หน้าผากแตะสันมือทำครั้งเดียวไม่แบมือ แล้วทรงตัวขึ้นนั่ง
2. การกราบพระพุทธรูป พระสงฆ์
การกราบพระพุทธรูปและพระสงฆ์ เรียกว่า การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยเข่าทั้งสอง ศอกทั้งสองและหน้าผากหนึ่งรวมเป็นห้าโดยมีลำดับขั้นการปฏิบัติ ดังนี้
จังหวะที่ 1 ผู้ชาย นั่งท่าพรหม เข่ายันพื้นห่างกันพอควร ปลายเท้าตั้งชิดกัน นั่งทับส้น ผู้หญิง นั่งท่าเทพธิดา เข่ายันพื้นในลักษณะชิดปลายเท้าราบไปกับพื้น หงายฝ่าเท้า นั่งทับส้นชายและหญิงประนมมือระหว่างอก เรียกว่า ท่าอัญชลี
จังหวะที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงรับมือเล็กน้อย หัวแม่มือจรดตรงกลางหน้าผาก ปลายนิ้วชี้จะสูงกว่าศีรษะ เรียกว่า ท่าวันทา
จังหวะที่ 3 ผู้ชายก้มลงกราบโดยทอดศอกให้แขนทั้งสองข้างลงพื้นพร้อมกับให้ข้อศอกทั้งสองข้างต่อกับหัวเข่า คว่ำมือทั้งสองแนบราบกันพื้น ให้นิ้วทั้ง 5 ชิดกัน มือทั้งสองวางห่างกันเล็กน้อย หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองข้างได้ ผู้หญิงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่เวลาก้มลงกราบหน้าผากจรดพื้นแล้วให้ศอกคร่อมหัวเข่า ไม่ต่อกับหัวเข่าแบบชาย ท่านี้เรียกว่า ท่ากราบ
การกราบเบญจางคประดิษฐ์ต้องทำติดต่อกัน 3 ครั้งแล้วทรงตัวขึ้นยกมือประนมจรดหน้าผากอีกครั้งหนี่ง เรียกว่าจบแล้วลดตัวนั่งในท่าปกติ
มารยาทในการใช้กิริยาวาจา
กิริยาวาจา คือ การแสดงออกของวาจาที่สมบูรณ์ วัฒนธรรมไทยนิยมให้คนสงบเสงี่ยมทั้งกิริยาและวาจาจะโกรธจะเกลียด จะรักท่านไม่ให้แสดงออกนอกหน้า ดังนั้นการแสดงซึ่งกิริยาวาจา ต้องได้รับการควบคุม จึงจะสื่อความหมายตามความประสงค์ของผู้แสดงได้ดี ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ ที่ใช้กับบุคคลที่สูงกว่าตนก็ใช้อย่างหนึ่ง ใช้กับบุคคลเท่ากันหรือต่ำกว่าใช้อีกอย่าง หนี่ง ความยากอยู่ตรงที่การประเมินว่าใครสูงใครต่ำกว่าตน ถ้าไม่แน่ใจควรเลือกทำที่สูงไว้ก่อนเพื่อให้เกียรติผู้ที่เราพูดด้วยเมื่อพูดกับใครควรแสดงกิริยาวาจาให้เกียรติเขา เพราะเมื่อเราให้เกียรติใครมิใช่ว่าเกียรติของเราจะหมดเปลืองไป อาจได้รับเกียรติกลับมาพร้อมกับความรู้สึกที่ดีก็ได้
มารยาทในกิริยาวาจาจำเป็นต้องใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี
1. การทักทาย มักนิยมกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมกับไหว้ ซึ่งเป็นการทักทายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย6
2. การไปพบผู้ใหญ่ ควรจะขออนุญาตเข้าพบ เมื่อพบแล้วก็ทักทายด้วยกิริยาวาจาพินอบพิเทา สุภาพใช้คำแทนตัวเองและผู้ใหญ่ให้เหมาะสม เช่น ผม กระผม ดิฉัน ท่าน คุณ แล้วใช้คำรับให้เหมาะสมด้วย เช่น ครับ ค่ะ
3. การปฏิบัติตัวในสถานที่ทำงาน การใช้กิริยาวาจาจะมีผลต่อความรู้รักสามัคคี การใช้วาจาสุภาพ มิใช่แค่ใช้ถ้อยคำในภาษาให้ถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง อ่อนโยน มีลีลาจังหวะในการใช้ภาษา มีคำลงท้ายที่แสดงความนับถือ รักษาน้ำใจผู้อื่น ไม่ควรพูดซุบซิบนินทาเพราะจะทำให้แตกความสามัคคีได้
4. การปฏิบัติตนในที่ประชุม ควรใช้กิริยาวาจาที่สุภาพใช้คำพูดถูกต้องตามหลักภาษาไทยไม่เยิ่นเย้อวกวน ไม่ส่งเสียงตะโกน ไม่พูดอวดเก่ง ไม่พูดอย่างเหน็บแนม ไม่พูดคุยกันเอง ถ้าเป็นผู้แสดงความคิดเห็นก็ควรพูดให้ตรงประเด็นรักษาเวลา เคารพกติกาของที่ประชุมนั้น ๆ


0 ความคิดเห็น:

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ
        พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

             พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่

๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ
๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาจทำได้ดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระภิกษุประพฤติปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและบุคคลผู้พบเห็นโดยทั่วไป

๒. การสั่งสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเทศนา ปาฐกถาธรรม หรือเผยแผ่ธรรมทางสื่อมวลชน

๓. การทำกิจกรรมอันเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้าน เช่น ช่วยสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นผู้นำชาวบ้านในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่นรักษาป่า ขุดลอกหนองบึง ส่งเสริมอาชีพสุจริต ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ เป็นต้น

๔. จัดกิจกรรมอันเป็นประเพณีและศาสนพิธีในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม รวมทั้งการถือโอกาสเทศนาธรรมสั่งสอนให้งดเว้นจากอบายมุข ให้ประพฤติดี หลีกหนีความชั่ว

๕. การเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกสมาธิเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติอย่างแท้จริง

การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรม
        การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ สามารถกระทำได้ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด การเผยแผ่ภายในวัด เช่น มีการแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะ มีการบรรยายธรรมหรือพระธรรมเทศนาในวันอาทิตย์ ตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น ส่วนการเผยแผ่ภายนอกวัด เช่น การสนทนาธรรมตามบ้านเรือนประชาชนในโอกาสอันสมควร การบรรยายธรรมหรือการแสดงพระธรรมเทศนาตามที่มีผู้นิมนต์การแสดงธรรมหรือการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ หมายถึง การกล่าวสั่งสอนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนเหล่านี้ไปประพฤติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสันติสุข พระภิกษุจึงมีหลักการและวิธีการที่
แสดงธรรมดังนี้

๑. ภิกษุผู้แสดงธรรมจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

๒. แสดงธรรมตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้

๓. แสดงธรรมโดยเคารพต่อผู้ฟังธรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชนชั้นใด ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ

๔. แสดงธรรมตามหลักองค์ธรรมกถึก คือ ธรรมที่ผู้แสดงธรรมควรตั้งไว้ในใจ ๕ ประการคือ
    ๔.๑ แสดงธรรมไปตามลำดับ คือแสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยาก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
    ๔.๒ ชี้แจง ยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความตามแนวเหตุผล
    ๔.๓ แสดงธรรมด้วยเมตตา คือ สอนผู้ฟังด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างแท้จริง
    ๔.๔ ไม่แสดงธรรมด้วยการเห็นแก่อามิส คือ สอนโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน
    ๔.๕ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักเนื้อหาวิชา มุ่งแสดงธรรม ไม่กล่าวยกย่องตนเองและไม่กล่าวเสียดสี กล่าวข่มผู้อื่น หรือกล่าว“ยกตนข่มท่าน”

๕. แสดงธรรมโดยยึดลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการคือ
    ๕.๑ ผู้แสดงธรรมต้องมีความรู้อย่างแท้จริง และสามารถถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับผู้อื่นรู้แจ้งเห็นจริงตามด้วย
    ๕.๒ แสดงธรรมด้วยเหตุและผล ไม่กล่าวเลื่อนลอย หรือกล่าวโดยไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน
    ๕.๓ แสดงธรรมให้เห็นจริง มองเห็นชัดเจนจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริง

๖. ผู้แสดงธรรมจะต้องประกอบไปด้วยความดี ๓ ประการคือ ไม่มีราคะ (ความกำหนัด) ไม่มีโทสะ (ความคิดประทุษร้าย ) ไม่มีโมหะ
(ความหลงผิด)

๗. แสดงธรรมโดยหลักการสอน ๔ วิธีคือ
   ๑ ) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อม
   ๒ ) สอนด้วยวิธีรุนแรง (สอนโดยการว่ากล่าวตักเตือน)
   ๓ ) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อมและรุนแรง
   ๔ ) ฆ่าเสีย (สอนโดยไม่ว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนบุคคลนั้นเลย)

๘. เมื่อแสดงธรรมถ้าจะระบุถึงบุคคล จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ๖ประการคือ
   ๘.๑ เพื่อแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
   ๘.๒ เพื่อแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมหนัก เช่น ฆ่าบิดามารดา เป็นต้น)
   ๘.๓ เพื่อแสดงถึงพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
   ๘.๔ เพื่อแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ (เป็นบุพเพสันนิวาส)
   ๘.๕ เพื่อแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์ของการทำบุญ)
   ๘.๖ เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลก (สิ่งที่สมมติขึ้น)

๙. การแสดงธรรมตามหลักการแสดงของพระพุทธเจ้า ๒ ประการคือ แสดงธรรมแบบย่อ (เฉพาะหัวข้อ) และแสดงธรรมโดยพิสดาร
(แสดงแยกแยะหัวข้อธรรม)

๑๐. ไม่แสดงธรรมในเรื่องราวที่พระภิกษุไม่ควรสนทนากัน เช่น เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องสงคราม เป็นต้น

๑๑. แสดงธรรมในสิ่งที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ฟัง

๑๒. แสดงธรรมและฟังธรรมด้วยความเคารพ

การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ
        พระภิกษุต้องหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. พระภิกษุมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้
๒. ความเป็นอยู่ของพระภิกษุต้องพึ่งพิงผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
๓. พระภิกษุมีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
๔. พระภิกษุติเตียนตัวเองได้โดยศีล
๕. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนติเตียนได้โดยศีล
๖. พระภิกษุจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
๗. พระภิกษุมีกรรมเป็นของตน หากทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้พระภิกษุทำอะไรอยู่ (ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่)
๙. พระภิกษุยินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
๑๐. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่พระภิกษุบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง พุทธศาสนิกชนสามารถนำข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุทั้งสิบประการดังกล่าวมา นำเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติในชีวิต
ประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญแก่ผู้ประพฤติปฏิบัตินั้น

การเป็นลูกที่ดี ตามหลักทิศเบื้องหน้า ในทิศ 6
        พ่อแม่ท่านจัดว่า เป็นทิศเบื้องหน้าของลูก ก็โดยฐานที่พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิด และบำรุงเลี้ยงพิทักษ์รักษามาก่อน นับได้ว่า เป็นเจ้าของชีวิตของพ่อแม่ก็ได้ เพราะเหตุว่า นับแต่ลูกอยู่ในครรภ์ จนถึงคลอดมาทุกระยะของวัย ลูกยังไม่รู้จักคุ้มครองรักษาตัวเองได้ ชีวิตยังตกอยู่ในความคุ้มครองของพ่อแม่อยู่ จนตราบนั้น รวมความว่า พ่อแม่มีอุปการคุณแก่ลูก ๒ ประการคือ เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ดังนั้นในฐานะที่เป็นลูกที่ดี พึงปฏิบัติต่อ พ่อแม่ ผู้เปรียบเหมือน ทิศเบื้องหน้า ดังนี้

๑. ท่านเลี้ยงเรามา เลี้ยงท่านตอบ การเลี้ยงดูพ่อแม่ หมายถึงการเลี้ยง ๒ อย่างคือ การเลี้ยงให้ท่านมีความสุขกาย เช่น แบ่งปันสิ่งของให้ตามอัตภาพ ให้การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูท่านและยามเจ็บไข้ได้ป่วย คอยปรนนิบัติเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และการเลี้ยงให้ท่านสุขใจ เช่น การเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน การประพฤติตนเป็นคนดี การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า เป็นต้น

๒. ช่วยทำกิจธุระการงานให้ท่าน หมายถึง ให้ลูกถือว่า งานการทุกอย่างของพ่อแม่ เหมือนกับการงานของตน เมื่อท่านมอบหมายให้ทำ ก็มีความเต็มใจทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อช่วยงานท่าน ก็ตั้งใจทำจริงเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความสมัครใจ ไม่อ้างหรือหลีกเลี่ยงหนีงานที่ท่านมอบหมาย เป็นต้น

๓ .ดำรงวงศ์สกุลของท่าน หมายถึง การรักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล หรือสร้างวงศ์ตระกูลให้รุ่งเรือง ให้เจริญก้าวหน้า ไม่สร้างความเดือนร้อน หรือความด่างพร้อยมาสู่วงศ์ตระกูล เป็นต้น นอกจากนั้น การรักษาเครือญาติไว้อย่างมั่นคง มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันระหว่างเครือญาติ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบ เป็นต้น

๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นทายาท หมายถึงการปฏิบัติให้เป็นผู้สมควรได้รับทรัพย์มรดก นั่นคือ การประพฤติตนเป็นคนดี โดยเว้นจากอบายมุขซึ่งเป็นหนทางแห่งความเสื่อมทั้งหลาย มีความเพียรตั้งหน้าทำมาหากิจโดยชอบธรรม ไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจาและใจ เป็นต้นนอกจากนั้นยังรู้จักการทำมาหากินเพิ่มพูนทรัพย์สิน และรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น รู้จักการประหยัดอดออม มีความสันโดษ พ่อแม่ก็มีความอิ่มเอมใจและเต็มใจที่จะยกทรัพย์สมบัติให้

๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว อุทิศส่วนกุศลให้ท่าน เป็นกิจที่ลูกจะต้องปฏิบัติ เป็นส่วนของการให้ทานในสิ่งที่สมควรกระทำแก่พ่อแม่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บุญที่จะพึงประกอบก็คือ ท่านที่บริจาคแก่บุคคลผู้ควรได้รับ เช่น พระภิกษุสามเณร และผู้ทรงศีล ตลอดถึงคนอนาถา คนชรา คนพิการและทานที่เป็นส่วนสงเคราะห์แก่คนทั่ว ๆ ไป เช่น การก่อสร้างสาธารณสถาน ศาสนสถาน เป็นต้น และกุศลที่เกิดจากการปฏิบัติ เช่น การรักษาศีลการเข้าวัดบวชเรียน เป็นต้น เหล่านี้เป็นบุญที่ควรอุทิศทั้งสิ้น การทำบุญอุทิศนี้ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อไม่ให้ลูกหลานลืมพ่อแม่ เมื่อล่วงลับไปแล้ว

มารยาทชาวพุทธ

การต้อนรับ (ปฏิสันถาร)
   
    มรรยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย มรรยาทชาวพุทธ จึงหมายถึง กิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อยที่พุทธศาสนิกชน
ควรปฏิบัติ ที่สำคัญได้แก่

๑. มรรยาททางกาย เช่นการกิน พระพุทธศาสนาสอนให้บริโภคอาหารด้วยการสุภาพเรียบร้อยไม่กินอย่างมูมมาม เคียวข้าวด้วยอาการสำรวม ไม่อ้าปากเคี้ยวข้าว แต่ปิดปากเคี้ยวด้วยความสำรวม เคี้ยวช้า ๆ ให้แหลกเสียก่อนแล้วจึงกลืน เป็นต้น

        การแต่งกาย เครื่องนุ่งห่มควรจะเหมาะสมแก่ภูมิประเทศและตัวผู้ใช้ มุ่งเอาความเรียบร้อย เหมาะสมแก่กาลเทศะและสภาพสังคมเครื่องนุ่งห่มต้องสะอาดไม่เหม็นสาบการฟัง ฟังด้วยความเคารพ ควรถามบ้างเมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถามไม่แสดงกิริยาอาการอันส่อความไม่สุภาพการฟังพระธรรมเทศนาต้องเคารพต่อพระธรรมและเคารพต่อผู้แสดงธรรมไม่คุยกันในขณะฟังธรรมควรประนมมือซึ่งเป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพต่อพระธรรมและผู้แสดงธรรมการแสดงความเคารพ ได้แก่
     ๑) การยืน การยืนเพื่อแสดงความเคารพ ใช้ในโอกาสเมื่อถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และพระมเหสี เมื่อเชิญธงชาติขึ้นและลงจากเสา เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี และกรณีอื่น ๆ ที่ต้องแสดงความเคารพด้ายการยืน

     ๒) การประนมมือ คือการยกมือทั้งสองขึ้นกระพุ่มตั้งไว้ระหว่างอก ให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างประกบชิดกันในลักษณะตั้งขึ้นข้างบน อย่าให้นิ้วมือก่ายกันและหักชี้ลงข้างล่าง

     ๓) การไหว้ คือ การทำความเคารพโดยยกกระพุ่มมือที่ประนมขึ้นไว้ ณ ส่วนบนของร่างกายตามความเหมาะสม ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัย การไหว้บิดามารดาครูอาจารย์ การไหว้บุคคลที่ควรเคารพทั่วไป และการไหว้บุคคลที่เสมอกันการไหว้แต่ละอย่างควรทำให้ถูกต้องตามแบบอย่างการไหว้

     ๔) การกราบ คือ การแสดงความเคารพด้วยวิธีประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้น หรือการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

๒.มรรยาททางวาจา ชาวพุทธที่ดี ควรมีวาจาสุภาพอ่อนโยน เว้น วจีทุจริต 4 ประการ ได้แก่ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ ประพฤติวจีทุจริต 4 ประการ ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด และไม่พูดเพ้อเจ้อ ควรสำรวมระวังรักษากิริยาในการวาจา ไม่เอะอะตะโกนเสียงดัง ไม่พูดจาก่อความรำคาญหรือความเคียดแค้นชิงชังต่อกันและกันการต้อนรับ (ปฏิสันถาร)

      ๑. การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่ประกอบพิธีต่าง ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงซึ่งนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้านั่งเก้าอี้
ลุกขึ้นยืนรับ เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาตรงหน้า น้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อพระสงฆ์นั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม เมื่อนั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านถึงเฉพาะหน้านิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

     ๒. การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาในงานพิธีนั้น ถ้าสถานที่นั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมลุกขึ้นหลีกไป ให้โอกาสพระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า ถ้าคฤหัสถ์ชายจำเป็นต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายของพระสงฆ์ หากเป็นหญิงไม่นิยมนั่งเก้าอี้เดียวกัน เว้นแต่สุภาพบุรุษนั่งคั่นในระหว่าง ถ้าสถานที่นั้นจัดให้นั่งกับพื้นนิยมจัดอาสนะสงฆ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก

     ๓. การตามส่งพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์กลับจากพิธี คฤหัสถ์ชายหญิงที่อยู่ในพิธีนั้น หากนั่งเก้าอี้นิยมลุกขึ้นเมื่อพระสงฆ์เดินผ่านและน้อมตัวลงพร้อมทั้งยกมือไหว้ หากนั่งอยู่กับพื้น ไม่ต้องยืนส่งเมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงให้กราบหรือยกมือไหว้ตามแต่กรณี
สำหรับเจ้าภาพควรเดินตามและส่งท่านจนพ้นบริเวณงาน และน้อมตัวลงยกมือไหว้แสดงความเคารพ

    ๔. การหลีกทางให้พระสงฆ์ หากพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงที่กำลังเดิน ควรหลีกทางชิด ข้างซ้ายมือพระสงฆ์ แล้วยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้าให้น้อมตัวยกมือไหว้
เมื่อยกมือไหว้ลดมือทั้งสองลงประสานกันไว้ข้างหน้า จนกว่าท่านจะเลยไป จึงเดินตามหลัง

     - ถ้าเดินสวนทางกับพระสงฆ์ให้หลีกเข้าชิดข้างด้านซ้ายมือพระสงฆ์ แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง
     - ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่ ให้หยุดยืนตรง น้อมตัวลงยกมือไหว้ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือพูดกับท่านแล้วเดินหลีกไปทางซ้าย
     - ถ้าพบพระสงฆ์นั่งอยู่ ให้หยุดลง ถ้าพื้นสะอาดนิยมนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ ถ้าพื้นไม่สะอาด นิยมนั่งกระหย่ง น้อมตัวลงยกมือไหว้
     - ถ้าท่านพูดด้วย ประนมมือพูดกับท่าน ถ้าท่านมิได้พูดด้วยให้ลุกเดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์ ถ้าพระสงฆ์อยู่ในที่กลางแจ้ง มีเงาปรากฏอยู่ คฤหัสถ์ชายหญิงไม่เดินเหยียบเงาของพระสงฆ์ ไห้เดินหลีกไปเสียอีกทางหนึ่งการเดินตามหลังพระสงฆ์ให้เดินไปตามหลังของพระสงฆ์ โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่าน เว้นระยะห่างประมาณ 2-3 ก้าวเดินตามท่านไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเรียบร้อย
มรรยาทของผู้เป็นแขก
        พุทธศาสนิกชนผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจา ตลอดถึงจิตใจให้เรียบร้อย เป็นการแสดงถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสการไปหาพระสงฆ์เพื่อนิมนต์ท่านไปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีใดก็ตาม นิยมมีเครื่องสักการบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น ไปถวายเพื่อแสดงความเคารพบูชาท่านด้วย นิยมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์สีฉูดฉาดบาดตา ก่อนเข้าพบท่าน นิยมไต่ถามพระภิกษุสามเณรหรือศิษย์วัดว่า ท่านอยู่หรือไม่ ท่านว่างหรือไม่ว่าง สมควรจะเข้าพบท่านหรือไม่ ถ้าท่านอยู่และสมควรเข้าพบ แจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงเข้าพบถ้าไม่พบใครพอไต่ถามได้ รอดูจังหวะอันสมควร กระแอม หรือเคาะประตูให้เสียงก่อนเพื่อให้ท่านทราบ เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงนิยมเปิดประตูเข้าไปเฉพาะผู้ชาย ส่วนผู้หญิงไม่ต้องเข้าไปหาพระสงฆ์ในห้อง เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าไปหาคุกเข่ากราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ ไม่นั่งบนอาสนะเสมอกับพระสงฆ์เมื่อสนทนากับพระสงฆ์ หากท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ นิยมประนมมือพูดกับท่านและรับคำพูดของท่าน ไม่นิยมพูดล้อเล่น พูดคำหยาบกับท่าน ไม่เอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้ท่านฟัง ไม่ยกตนเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่นเมื่อเสร็จธุระแล้ว รีบลาท่านกลับ ก่อนกลับ นั่งคุกเข่ากราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วเดินเข่าออกไป

การแต่งกายไปวัด การแต่งกายไปงานมงคล งานอวมงคล

     ๑. การแต่งกายไปวัด ชาวพุทธที่ดีจะไปวัดเพื่อประกอบพิธีทำบุญหรือไปในกรณียกิจใด ๆ ก็ตาม จักต้องปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ การปฏิบัติตนอย่างไม่สมควรและอย่างไม่มีมรรยาทในเขตวัด ไม่เป็นการก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองและยังมีผลกระทบไปถึงพระพุทธศาสนาด้วย ดังนั้นการแต่งกายไปวัดควรแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย สีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาดจนเกินควร ไม่ควรแต่งกายให้หรูหราล้ำสมัยจนเกินไป สตรีไม่ควรแต่งกายแบบวับ ๆ แวม ๆ หรือใส่เสื้อบางจนเห็นเสื้อชั้นใน กระโปรงไม่ควรสั้นจนเกินไป หรือผ่าหน้าผ่าหลังเพื่อเปิดเผยร่างกาย เครื่องประดับก็ใส่พอควร เพราะวัดควรเป็นที่ที่เราไปเพื่อจะขัดเกลากิเลสมากกว่า

     ๒. การแต่งกายไปในงานมงคล ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพ บางทีตัวเราเองอยากแต่งตัวง่าย ๆ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเจ้าของงานด้วย นอกจากนี้ ในบัตรเชิญอาจมีการกำหนดให้แต่งกายอย่างไร ก็ควรแต่งกายตามนั้นควรไปถึงงานตรงตามเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อยควรไปพบเจ้าของงานก่อนและถ้ามีของขวัญจะให้ก็มอบเลยแล้วนั่งในที่ที่เหมาะสมตามอาวุโสของตน ไม่ควรคำนึงเรื่องที่ไม่เป็นมงคลมาสนทนาในงานนั้น หากเป็นงานที่มีการอวยพร ในขณะที่มีผู้กล่าวคำอวยพร ควรสงบนิ่งฟัง ไม่ควรคุยกัน ไม่ควรเดินไปเดินมาไม่ควรรับประทานอาหารต่อในขณะนั้น เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติเจ้าของงานและผู้กล่าวคำอวยพรและหากเมื่อจะกลับควรหาโอกาสลาเจ้าของงานก่อน

      ๓. การแต่งกายไปงานอวมงคล ควรแต่งตัวตามประเพณีนิยม ชายแต่งสากลนิยมสีเข้ม เนคไทสีดำ รองเท้าดำ หากเป็นงานศพควรสวมปลอดแขนทุกข์ที่แขนเสื้อข้างซ้ายเหนือศอก หรือแต่งกายชุดไทยพระราชทานสีดำทั้งชุด หรือเสื้อสีขาวกางเกงสีดำหรือสีเข้มหญิงนุ่งผ้าซิ่นหรือกระโปรงตามสมัยนิยม เสื้อแบบเรียบ รองเท้าหุ้มส้นสีดำ หรือแต่งกายให้สุภาพ ไม่ใช้เสื้อผ้าและรองเท้าสีฉูดฉาด ไม่สมควรพูดคุยหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน เพราะไม่ใช่งานแสดงความยินดี

0 ความคิดเห็น:

มารยาทการเเต่งกาย

มารยาทการเเต่งกาย

    การแต่งกายแสดงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม แล้วยังแสดงถึงอุปนิสัยใจคอ จิตใจ รสนิยม ตลอดจนการศึกษาและฐานะของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี การแต่งกายของผู้ที่อยู่ในสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีหลักสำคัญที่ควรปฏิบัติ3 ดังนี้ 
1. ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
2. ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
3. ความถูกต้องกาลเทศะ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ เพราะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลายุคสมัยนิยมและสถานที่ 

0 ความคิดเห็น:

มารายาทการไหว้

มารายาทการไหว้

การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

คำที่มักจะกล่าวในขณะที่ไหว้เพื่อทักทายหรือกล่าวลานั้นคือ คำว่า สวัสดี มาจาก พระยาอุปกิตศิลปสาร หรือ นิ่ม กาญจนาชีวะ ซึ่ง"สวัส" แปลว่าก้าวหน้า รวมแล้วจึงแปลว่า "ขอให้เจริญรุ่งเรือง"

0 ความคิดเห็น:

การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง มี ๒ แบบ คือ

การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง มี ๒ แบบ คือ

๑ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
๒ การกราบผู้ใหญ่ 

 



 การกราบเเบบเบญจางคประดิษฐ์

                                                     
                                                                                     
ท่าเตรียม
      ชาย นั่งคุกเข่าตัวตรงปลายเท้าตั้ง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า เข่าทั้งสองห่างกันพอประมาณ มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสอง    ข้าง นิ้วนิวชิดกัน (ท่าเทพบุตร)      
      หญิง นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางคว่ำบนหน้าขา ทั้งสองข้าง นิ้วชิดกัน (ท่าเทพธิดา)

ท่ากราบ

      จังหวะที่ ๑ (อัญชลี) ยกมือขึ้นในท่าประนมมือ
      จังหวะที่ ๒ (วันทนา) ยกมือขึ้นไหว้ตามระดับที่ ๑ การไหว้พระ
      จังหวะที่ ๓ (อภิวาท) ทอดมือทั้งสองลงพร้อม ๆ กัน ให้มือและแขนทั้งสองข้างราบกับพื้น คว่ำมือห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้

      ชาย  ศอกทั้งสองข้างต่อจากเข่าราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง
      หญิง ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย ราบไปกับพื้น หลังไม่โก่ง จากนั้นก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือทั้งสอง
       ทำสามจังหวะให้ครบ ๓ ครั้ง แล้วยกมือขึ้นไหว้ในท่าไหว้พระ แล้ววางมือคว่ำลงบนหน้าขา
       ในท่าเตรียมกราบ จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถตามความเหมาะสม



การกราบผู้ใหญ่

    กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสรวมทั้งผู้มีพระคุณ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพ ผู้กราบทั้งชายและหญิงนั่งพับเพียบทอดมือทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนมตั้งกับพื้นไม่แบมือ ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบไม่กระดกนิ้วมือขึ้นรับหน้าผาก กราบเพียงครั้งเดียว จากนั้นให้เปลี่ยนอิริยาบถโดยการนั่งสำรวมประสานมือ จากนั้นเดินเข่าถอยหลังพอประมาณแล้วลุกขึ้นจากไป


0 ความคิดเห็น:

มารยาทการใช้กิริยาวาจา

มารยาทการใช้กิริยาวาจา

มารยาททางวาจา

    มารยาททางวาจาก็คือบุลิกภาพที่ปรากฏในสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสำเนียงต่อบุคคลทั่วไป เช่นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดเหยียดหยามผู้อื่น การใช้ว่าคำว่ากรุณาเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น การกล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิดพลาด  การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ  ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ  ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม

มารยาทการเเนะนำ

    การแนะนำตัวและการแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักกันถือเป็นมารยาททางสังคมแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงควรทราบวิธีการแนะนำที่เหมาะสม  เช่น เมื่อต้องการแนะนำบุรุษแก่สตรีที่มีวัยอาวุโสใกล้เคียงกัน ควรใช้ว่า คุณคัทลิยาคะ อนุญาตให้ดิฉันแนะนำ ร้อยตำรวจโทพิชิต ปราบไพรพาล สารวัตรประจำสถานีตำรวจบางเขน แก่คุณคะ   และแนะนำให้ฝ่ายบุรุษรู้จักฝ่ายสตรี  คุณคัทลิยา ราชาวดี ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                การแนะนำสตรีต่อสตรี การแนะนำบุคคลเพศเดียวกันให้รู้จักกัน ต้องยึดถือความอาวุโสเป็นสำคัญ เช่นแนะนำเพื่อนให้รู้จักมารดา จะต้องแนะนำว่า เจี๊ยบจ๋า นี่คุณแม่ของเรา จากนั้นจึงแนะนำให้คุณแม่รู้จัก เจี๊ยบว่าเป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัย คือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน

                การแนะนำบุรุษแก่บุรุษ ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน หรือถ้าอายุใกล้เคียงกันก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน  คุณสมบูรณ์ พูนสุข ประธานบริษัทอุดมสมบูรณ์  คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด

มารยาทการสนทนา

    การสนทนาที่มีมารยาทมีหลักดังนี้ ในกรณีที่เพิ่งรู้จักกันไม่ควรถามถึงเรื่องส่วนตัว ควรเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ไม่พูดถึงแต่เรื่องส่วนตัวของตนเอง  อย่าบ่นเรื่องเคราะห์กรรมและความต่ำต้อยของตนเองเพราะจะทำให้ผู้อื่นดูถูกได้  อย่าอวดร่ำรวยหรือความมีอำนาจเพราะเป็นการข่มผู้อื่น ไม่พูดถึงเรื่องในครอบครัวให้ผู้อื่นฟัง ไม่ควรพูดว่าเกลียดหรือรักชอบใคร  ไม่นำปมด้อยของผู้อื่นมาล้อเลียน ไม่พูดจาสัปดนหรือลามก  ไม่ตำหนิติเตียนพ่อแม่หรือผู้ที่ควรเคารพ ไม่ปฏิเสธความหวังดีของผู้รู้จัก และไม่พูดขัดคอผู้อื่นจนเกินควร


0 ความคิดเห็น: