มารยาทในการใส่บาตร และมารยาทที่พึงแสดงต่อสถานที่อันควรสักการะ

มารยาทชาวพุทธ

 มารยาทในการใส่บาตร
1.ควรตื่นแต่เช้ามารอใส่บาตร
2. เมื่อพระสงฆ์เดินมาใกล้จะถึง ให้นั่งหย่งยกขันขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมอธิษฐาน
ว่า " ขอให้ทานนี้นำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด "
3. ลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้า ใช้มือขวาตักข้าวใส่ให้ตรงบาตรพร้อมใส่กับข้าว ถ้าอาหารที่จะใส่บาตรจัดเป็นถุง ก็วางถุงใส่บาตรอย่างบรรจง
4. ควรทำด้ายความนอบน้อม และความเคารพ
5.อย่าชวนพระสนทนา
6.เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว วางขันใว้ข้างตัว แล้วนั่งกระหย่งยกมือไหว้พระ เมื่อพระสงเดินผ่านไปแล้วจึงลุกขึ้น เป็นอันเสร็จ
         มารยาทที่พึงแสดงต่อสถานที่อันควรสักการะ
สถานที่อันควรสักการะ เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
2. ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง
3. ไม่แแสดงอาการเหยียบย่ำดูหมิ่น
4. ไม่พูดจาลบหลู่ เหยียดหยาม หยาบคาย
5. ไม่ส่งเสียงดังและทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
6.ไม่กล่าวคำทำนองไม่เชื่อ หรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น
7.ทำใจให้เป็นกลาง
8. ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน
9.อย่าทำอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน
         การปฏิสันถาร
การปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือน อาจทำได้หลายวิธี คือ ปฏิสันถารด้วยวาจา ด้วยการให้ที่พักอาศัย และการแสดงน้ำใจต่อกัน เมื่อมีแขกมาบ้าน เราต้องรู้จักปฏิบัติตนว่า จะพูดอย่างไร กับบุคคลวัยใด ฐานะใด จะใช้สรรพนามแทนตัวเราและแขกอย่างไร ต้องรู้จักเลือกให้ถูก แต่อะไรก็ไม่เท่ากับการยิ้มแย้มแจ่มใส โดยแสดงให้เห็นว่า เรายินดีและเต็มใจให้การต้อนรับ

                                     #############################

0 ความคิดเห็น: